การศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้า ส่วนหน้าแบบติดในถุงเท้าบางและแบบติดในรองเท้าในผู้ป่วย ที่มีอาการปวดใต้เนินกระดูกฝ่าเท้าปฐมภูมิ
Keywords:
ความปวดเท้า, อาการปวดใต้เนินกระดูกฝ่าเท้า, แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้า, foot pain, metatarsalgia, metatarsal padAbstract
Efficacy of Metatarsal Pad Attached in Short Socks and In-shoe Metatarsal Pad in Primary Metatarsalgia
Chuaypat P, Leelasamran W, Techapoowapat S
Physical Medicine and Rehabilitation Unit, Department of Orthopedics and Physical Medicine, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University
Objectives: To evaluate and to compare the efficacy of metatarsal pad attached in short socks and in-shoe metatarsal pad in primary metatarsalgia
Study design: Experimental and comparison study
Setting: Prosthetic and Orthotic Clinic, Songklanagarind Hospital
Subjects: Patients with primary metatarsalgia, aged 20-60 year-old
Methods: Subjects were randomized into two groups. Group 1 used metatarsal pad attached in short socks and group 2 used metatarsal pad attached in shoes. All subjects received meloxicam, omeprazole and instructions of intrinsic foot muscle exercises. The outcome measurements were pain score assessed with a visual analog scale, a score from the Thai version of the Foot Health Status Questionnaire and the comfort and satisfaction scale, before and after continuous use of the metatarsal pad for 2 weeks. Statistics were
calculated by a two sample t-test and paired t-test and were considered clinically significant at 0.05.
Results:Thirty-eight subjects were divided into 2 groups of 19 per group. After using the metatarsal pad for 2 weeks, the pain scores significantly decreased from 4.7 to 1.2 in group 1 and from 4.6 to 1.2 in group 2 (p < 0.001). When comparing between the 2 groups, there were no statistically significant differences in the difference of pain scores, a score from the Thai version of the Foot Health Status Questionnaire and the score from the Comfort/Satisfaction Scale before and after using the pads.
Conclusion: The metatarsal pad attached either in short socks or in shoes can reduce the pain score in primarymetatarsalgia patients.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการลดความปวดเท้าโดยใช้แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้าแบบติดใน ถุงเท้าบางและแบบติดในรองเท้าในผู้ป่วยที่มีอาการปวดใต้เนินกระดูกฝ่าเท้าปฐมภูมิ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองและเปรียบเทียบ
สถานที่ทำการวิจัย: คลินิกกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยนอกอายุ 20-60 ปี ที่มีอาการปวดใต้ เนินกระดูกฝ่าเท้าปฐมภูมิ 38 คน
วิธีการศึกษา: สุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่ 1 ใส่แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้าโดยเย็บติดในถุงเท้าบาง กลุ่มที่ 2 ใส่แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้าแบบติดในรองเท้า ทั้ง 2 กลุ่มได้รับยาและคำแนะนำการยืดกล้ามเนื้อเหมือนกัน โดยประเมินคะแนนความปวด คะแนนแบบสอบถามสุขภาพเท้า ระดับความพึงพอใจในการรักษา ก่อนและหลังใส่แผ่น กระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้าต่อเนื่องกัน 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย two sample t-test และ paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา: มีผู้ร่วมวิจัย 38 คน กลุ่มละ 19 คน พบว่าภาย หลังใช้แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้า คะแนนความปวดเฉลี่ยลดลงทั้งกลุ่มที่เย็บแผ่นกระจายน้ำหนักติดกับถุงเท้า บางและกลุ่มที่ติดในรองเท้าจาก 4.7 เป็น 1.2 ในกลุ่มที่ 1 และจาก 4.6 เป็น 1.2 ในกลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) เมื่อเปรียบเทียบผลต่างของคะแนนความปวดก่อน และหลังใส่แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้า คะแนน แบบสอบถามสุขภาพเท้าและระดับความพึงพอใจ ระหว่างกลุ่มที่ติดในถุงเท้าบางและรองเท้าไม่มีความแตกต่างกัน
สรุป: แผ่นกระจายน้ำหนักกระดูกเท้าส่วนหน้าช่วยลดความปวดเท้าในผู้ป่วยที่มีอาการปวดใต้เนินกระดูกฝ่าเท้าปฐมภูมิได้แต่ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างการติดในถุงเท้าบางและแบบติดในรองเท้า