การฟื้นฟูสมรรถภาพการเดินในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรค หลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลันโดยการใช้หุ่นยนต์ช่วยฝึก เดินเปรียบเทียบกับวิธีกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิม

Authors

  • รัตนาพรรธณ์ จันทร์อุบล กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์
  • ภาริส วงศ์แพทย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ลาวัลย์ พานิชเจริญ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์
  • นภาพิตร ชวนิชย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

โรคหลอดเลือดสมอง, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, การเดิน, การฝึกเดิน, หุ่นยนต์, Stroke, rehabilitation, walking, gait training, robot

Abstract

Gait rehabilitation in Subacute Hemiparetic Stroke: Robot-Assisted Gait Training versus Conventional Physical Therapy

Chanubol R1, Wongphaet P2, Panichareon L1, Chavanich N2

1Department of Physical Medicine & Rehabilitation,Prasat Neurological Institute.

2Department of Rehabilitation Medicine. Faculty ofMedicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University.

Objective: To compare the effect of a robot-assisted gait training and a conventional physical therapy on ambulation in subacute hemiparetic stroke patients.

Study Design: Single blinded randomized controlled trial.

Setting: Prasat Neurological Institute Subjects: Forty subacute hemiparetic stroke patients, aged 18-80 years.

Methods: The subjects were randomly assigned into an experimental or control group. Both groups received similar type and intensity of rehabilitation, except the gait training session. The experimental group received 30-minute robot-assisted gait training plus a 30-minute conventional physical therapy while the control group received a 60-minute of conventional physical therapy on every working day for four consecutive weeks. Gait function and disability were assessed before, one month after treatment, and 3 months follow-up, using Functional Ambulation Classification, Barthel Index, Berg Balance Scale (BBS), 10-meter walk test, 6-minute walk test, and Resistance to Passive Movement scale (REPAS).

Results: The intention to treat analysis revealed significantly higher scores of all measures, except the BBS and the REPAS, in the experimental group compared with the control group at the end of the first and the third month post treatment (p<0.05).

Conclusion: The robot-assisted gait training plus conventional physical therapy is significantly better than conventional physical therapy alone in subacute stroke patients as regarding to the ability of ambulation, activity of daily living, gait speed, step length, and endurance.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพการ เดินในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองโดยการ ใช้หุ่นยนต์ฝึกเดินร่วมกับวิธีการฝึกกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิม

รูปแบบงานวิจัย: การศึกษาวิจัยแบบสุ่มมีกลุ่มเปรียบเทียบ

สถานที่ทำการวิจัย: สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงครึ่งซีกจากโรคหลอด เลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลัน อายุระหว่าง 18-80 ปี จำนวน 40 คน

วิธีการศึกษา: แบ่งประชากรศึกษาเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่มทดลองได้รับการฝึกเพื่อฟื้นฟูความสามารถด้านการเดิน โดยหุ่นยนต์ฝึกเดินเป็นเวลา 30 นาทีร่วมกับกายภาพบำบัด แบบดั้งเดิมอีก 30 นาที กลุ่มควบคุมรับการฝึกวิธีกายภาพบำบัด แบบดั้งเดิม 60 นาทีทุกวันราชการต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน ประเมินความสามารถด้วยแบบทดสอบ Functional Ambulation Classification, Barthel Index, Berg Balance Scale (BBS), 10 meter walk test, 6 minute walk test, และ Resistance to Passive Movement (REPAS) รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และเปรียบเทียบผลหลังการฝึก 1 เดือนและ 3 เดือน ขณะติดตามการรักษา

ผลการศึกษา: ประชากรศึกษาในกลุ่มทดลองมีระดับความ สามารถหลังการประเมินด้วยแบบทดสอบต่าง ๆ ดีกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ทุกแบบทดสอบ ยกเว้นแบบทดสอบ BBS และ REPAS เมื่อวิเคราะห์ผลหลัง การฝึกที่ 1 และ 3 เดือน

สรุป: การฝึกด้วยหุ่นยนต์ฝึกการเดินร่วมกับกายภาพบำบัด แบบดั้งเดิมมีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก จากโรคหลอดเลือดสมองดีกว่าวิธีการฝึกกายภาพบำบัดแบบ เดิมเพียงอย่างเดียวในแง่ของระดับความสามารถของการเดิน ความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวันด้วยตนเอง ความเร็ว ความยาวช่วงก้าว และความทนทานในการเดิน

 

Downloads

Issue

Section

Original Article