ผลของการดึงหลังในผู้ป่วยโรคกระดูกสังหลังส่วนเอวเสื่อม

Authors

  • นรฤทธิ์ ล้วนจำเริญพบ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ขวัญยุพา สุคนธมาน ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย
  • ดุจใจ ชัยวานิชศิริ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

โรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม, โรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน, การดึงหลัง, ปวดหลัง, การฟื้นฟู, Lumbar spondylosis, lumbar spondylolisthesis, lumbar traction, back pain, rehabilitation

Abstract

Effectiveness of Lumbar Traction in Patients with Lumbar Spondylosis

Luanjamroen N*, Kitisomprayoonkul W*, Sukonthamarn K**, Chaiwanichsiri D*

*Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

**Thai Red Cross Rehabilitation Center, Samutprakarn

Objectives: To assess an effect of lumbar traction on pain reduction and functional activities in patients with lumbar spondylosis with or without spondylolisthesis.

Study design: Experimental study

Setting: Department of Rehabilitation Medicine, King Chulalongkorn Memorial Hospital

Subjects: Patients with lumbar spondylosis with/without spondylolisthesis who had onset of back pain less than 6 weeks.

Methods: Patients were divided into two treatment groups by purpose. Both groups were received rehabilitation program including proper posture, rest, back exercise, hot pack and muscle relaxants for 2 weeks. The experimental group additionally received lumbar traction for 10 days during this period. Visual analog scale (VAS), percent improvement (PI), Waddell Disability Index (WDI) and Roland-Morris Disability Questionnaire (RMQ) were evaluated before and after 2 weeks treatment.

Results: Twenty seven patients were participated in this study. Eighteen were in experimental group and the rest were in the control group. Both groups had similar demographic data. After treatment, VAS were significantly decreased in the experimental group when compared with the control group ( VAS = 25.25 and 0.55 respectively, p < 0.05). The PI of the experimental and the control groups were 45% and 29%, respectively with no significant difference (p > 0.05). The WDI and the RMQ scores were improved in the experimental group (WDI increased 0.2, RMQ deceased 1.33) and worse in the control group (WDI decreased 0.22, RMQ increased 0.55) with no significant difference (p > 0.05).

Conclusion: Lumbar traction showed effect on pain reduction in patients who had lumbar spondylosis with or without spondylolisthesis with acute and moderately severe low back pain. The functional activities also showed trend of improvement.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการดึงหลังต่ออาการปวดหลังและการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคกระดูงสันหลังส่วนเอวเสื่อมที่มี/ไม่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนร่วมด้วย

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงการทดลอง

สถานที่ทำการวิจัย: ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังจากโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมที่มี/ไม่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนร่วมด้วยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 สัปดาห์

วิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มตามความสมัครใจ ทั้ง 2 กลุ่มได้รับคำแนะนำท่าทางที่ถูกต้อง การพัก การออกกำลังกาย ประคบอุ่น และได้รับยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองได้รับการดึงหลังร่วมด้วยจำนวน 10 ครั้ง เปรียบเทียบ visual analog scale (VAS), percent improvement (PI), Waddell Disability Index (WDI) และ Roland-Morris Disability Questionnaire (RMQ)  ของทั้ง 2 กลุ่มเมื่อครบ 2 สัปดาห์

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 27 คน กลุ่มทดลอง 18 คน กลุ่มควบคุม 9 คน ข้อมูลพื้นฐานของทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 2 กลุ่มทดลองมีความปวดลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม (VAS ที่ลดลงเท่ากับ 25.25 และ 0.55 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กลุ่มทดลองมี PI ดีขึ้นร้อยละ 45 ส่วนกลุ่มควบคุมร้อยละ 29 คะแนนของ WDI ในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้น 0.2 ส่วนกลุ่มควบคุมลดลง 0.22 และคะแนนของ RMQ ในกลุ่มทดลองลดลง 1.33 ส่วนกลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้น 0.55 ทั้ง PI, WDI และ RMQ ของทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) 

สรุป: การดึงหลังลดอาการปวดหลังของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมในระยะเฉียบพลันทั้งที่มีหรือไม่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนร่วมด้วย และมีอาการปวดระดับปานกลางได้ และมีแนวโน้มส่งผลให้การทำกิจวัตรประจำวันดีขึ้น

Downloads