การศึกษาเปรียบเทียบวิธีตรวจลักษณะอุ้งเท้าระหว่างภาพถ่าย จาก podoscope และภาพพิมพ์รอยเท้าในผู้ที่มีเท้าปกติและ เท้าแบน

Authors

  • ปรัชญพร เปรมกมล ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปกรณ์ วิวัฒน์วงศ์วนา ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จักรกริช กล้าผจญ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ภาพถ่ายจาก, ภาพพิมพ์รอยเท้า, ความสอดคล้อง, ระดับเท้าแบน, podoscope, foot im print, correlation, foot arch grading

Abstract

Comparative study of foot arch grading methods between digital photograph from podoscope and foot imprint (Orthoprint®) in people with normal and flat feet

Premkamol P, Wivatvongvana P, Klaphajone J.

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University

Objectives: To determine the level of agreement of foot arch grading methods between digital photograph from podoscope and foot imprint (Orthoprint®) in people with normal and flat feet.

Study design: Comparative study

Setting: Outpatient unit, Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University

Subjects: Fifty-four volunteers, 55.6 % females, mean age 31.31 years (range 5-69 years)

Methods: Foot arches in full weight bearing position were evaluated using both Orthoprint® and podoscope. Foot imprint from Orthoprint® and digital photograph from podoscope were then interpreted by a physiatrist in a random sequence generate by randomized allocation method. Foot arch grading system comprised scores ranging from 0-3 (0 = normal to 3 = severe flatfeet). Kappa statistics was applied to determine the agreement between two methods.

Results: A total of 108 feet were studied. The agreement of foot arch grade between digital photograph and foot imprint were moderate (k = 0.43). The highest agreement between the two methods was seen in normal grade (76.2 %) grade 3 flat foot (57.7 %) grade 1 (46.2 %) and grade 2 (35.7 %) respectively.

Conclusion: Foot arch grading of digital photograph from podoscope has moderate agreement with Orthoprint®.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสอดคล้องของการแบ่งระดับ เท้าปกติและเท้าแบนระหว่างการดูภาพถ่ายดิจิตอลจาก podoscope และภาพพิมพ์รอยเท้า

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงแบบเปรียบเทียบ

สถานที่ทำการวิจัย: ห้องตรวจผู้ป่วยนอก เวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กลุ่มประชากร: อาสาสมัครจำนวน 54 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 55.6 อายุเฉลี่ย 31.31 ปี (ช่วงอายุ 5-69 ปี)

วิธีการศึกษา: ตรวจประเมินอุ้งเท้าในท่ายืนลงน้ำ หนัก เท่ากันบนเท้าทั้ง 2 ข้างด้วย Orthoprint® และ podoscope จากนั้นแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแบ่งระดับเท้าแบนจากภาพพิมพ์ รอยเท้าจาก Orthoprint® และภาพถ่ายดิจิตอลจาก podoscope ที่สุ่มลำดับโดยวิธี randomized allocation แบ่ง ลักษณะอุ้งเท้าแบนเป็น 4 ระดับ ได้แก่ เท้าปกติ เท้าแบนระดับ 1 ระดับ 2 และระดับ 3 จากนั้นศึกษาความสอดคล้องของ การแบ่งระดับเท้าแบนโดยวิธีใช้ภาพถ่ายดิจิตอลเปรียบเทียบกับ ภาพพิมพ์รอยเท้าโดยใช้ Kappa statistics

ผลการศึกษา: จากอุ้งเท้าจำนวน 108 ข้างพบว่าการแบ่ง ระดับเท้าแบนจากการดูภาพถ่ายดิจิตอลจาก podoscope และภาพพิมพ์รอยเท้าจาก Orthoprint® โดยแพทย์เวชศาสตร์- ฟื้นฟูคนเดียวกัน มีความสอดคล้องกันในระดับปานกลาง (k = 0.43) ระดับเท้าแบนที่อ่านตรงกันจาก 2 วิธี เรียงลำดับ จากมากไปน้อยคือ เท้าปกติ ร้อยละ 76.2 เท้าแบนระดับ 3 ร้อยละ 57.7 เท้าแบนระดับ 1 ร้อยละ 46.2 และเท้าแบนระดับ 2 ร้อยละ 35.7

สรุป: การแบ่งระดับเท้าปกติและเท้าแบนโดยการดูภาพ ถ่ายดิจิตอลจาก Podoscope มีความสอดคล้องในระดับ ปานกลางกับ Orthoprint®

Downloads