การศึกษาความถูกต้องของระบบคัดแยกผู้ป่วยเขตสุขภาพที่4 (Regional4 Triage system) ที่แผนกผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลสระบุรีเปรียบเทียบกับระบบคัดแยก Emergency severity index และ Canadian Triage and Acuity scale

ผู้แต่ง

  • Emergency Department, Saraburi Hospital

คำสำคัญ:

R4TS, ระบบคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน, , ความเที่ยงตรง, Diagnostic , Life-saving intervention

บทคัดย่อ

ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสระบุรีมีการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความรุนแรงของโรคโดยใช้ระบบคัดแยก Regional 4 Triage System (R4TS) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 โดยประยุกต์จากระบบมาตรฐานคือ Emergency Severity index (ESI) และ Canadian Triage And Acuity Scale (CTAS) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถูกต้องและความสามารถในการทำนาย Life-saving intervention ผู้ป่วยระดับ1ที่ผ่านการคัดกรองด้วยระบบคัดแยกR4TSเปรียบเทียบกับระบบESI และ CTAS

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ Diagnostic study research จัดทำที่โรงพยาบาลสระบุรี โดยศึกษาผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉินตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ.2564 วิเคราะห์ความถูกต้องจากการใช้ระบบคัดแยก R4TS, ESI และ CTASที่จุดคัดแยก (Index test) เปรียบเทียบกับ Reference triage ซึ่งประเมินโดยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินที่มีความเชี่ยวชาญ 2 ท่านและศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำนายการใช้ Life-saving intervention ผู้ป่วยระดับที่ 1 ภายหลังการคัดกรองด้วยระบบคัดแยกผู้ป่วยของทั้งสามระบบ

จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 200 คนพบว่าภาพรวมค่าความเที่ยงตรงของ R4TSมีค่ามากที่สุดที่ 69.00% ในขณะที่ความเที่ยงตรง ESI และ CTASมีค่า 65.50% และ 63.00% ตามลำดับ สำหรับระดับ 1 การคัดแยกสามชนิดทั้ง R4TS, ESI และ CTAS มีค่าความเที่ยงตรง (Validity) มากกว่า 70%  R4TS มีความเที่ยงตรงมากที่สุดในระดับ 2-4 ในขณะที่ CTAS มีความเที่ยงตรงมากที่สุดในระดับ 1 ค่า Diagnostic odds ratio (DOR) ของ R4TS ระดับ 1 เท่ากับ 408.50 (95%CI: 48.44-3,444.95), ระดับ 2 เท่ากับ 31.96 (95%CI: 13.81-73.96) ระบบคัดแยก R4TS มีค่า Sensitivity, Specificity, Positive predictive value และ Positive likelihood ratio สูงที่สุดในระดับ 1 (70.37%, 99.42%, 95.00% และ 121.74 ตามลำดับ) ในขณะที่ประสิทธิภาพการทำนาย Life-saving intervention ของทั้งสามระบบเท่ากันที่ AUC = 0.7962 (95%CI: 0.7324-0.8487)

ระบบคัดแยก R4TS มีความเที่ยงตรงและความถูกต้องใกล้เคียงกับการคัดแยกมาตรฐานและมีประสิทธิภาพในการคัดแยกได้ดีโดยเฉพาะระดับ 1 และระดับ 2 อีกทั้งสามารถทำนาย Life-saving interventionได้ดี

References

Gilboy N, United States, editors. Emergency severity index: implementation handbook. Version 4. Rockville, MD: U.S. Dept. of Health and Human Services, Public Health Service, Agency for Healthcare Research and Quality; 2005. 72 p. (AHRQ publication).

CTAS National Working Group. The canadian triage and acuity scale combined adult/paediatric educational program [Internet]. CTAS National Working Group; 2013 [cited 2020 Dec 20]. Available from: http://ctas-phctas.ca/wp-content/uploads/2018/05/participant_manual_v2.5b_november_2013_0.pdf

Zachariasse JM, van der Hagen V, Seiger N, Mackway-Jones K, van Veen M, Moll HA. Performance of triage systems in emergency care: a systematic review and meta-analysis. BMJ Open. 2019 May;9(5):e026471.

Hinson JS, Martinez DA, Cabral S, George K, Whalen M, Hansoti B, et al. Triage performance in emergency medicine: A Systematic Review. Ann Emerg Med. 2019 Jul;74(1):140–52.

Yuksen C, Sawatmongkornkul S, Suttabuth S, Sawanyawisuth K, Sittichanbuncha Y. Emergency severity index compared with 4-level triage at the emergency department of Ramathibodi University Hospital. Asian Biomed. 2016 Apr;10(2):155–61.

Kuriyama A, Ikegami T, Kaihara T, Fukuoka T, Nakayama T. Validity of the Japan acuity and triage scale in adults: a cohort study. Emerg Med J. 2018 Jun;35(6):384–8.

Cairós-Ventura L, de las Mercedes Novo-Muñoz M, Rodríguez-Gómez J, Ortega-Benítez Á, Ortega-Barreda E, Aguirre-Jaime A. Validity and reliability of the Emergency severity index in a Spanish hospital. Int J Environ Res Public Health. 2019 Nov 18;16(22):4567.

Lee JY, Oh SH, Peck EH, Lee JM, Park KN, Kim SH, et al. The validity of the canadian triage and acuity scale in predicting resource utilization and the need for immediate life-saving interventions in elderly emergency department patients. Scand J Trauma Resusc Emerg Med. 2011 Dec;19(1):68.

Al Hasni AK, AL-Rawajfah OM. Effectiveness of implementing emergency severity index triage system in a selected Primary Health Care Center in Oman: A quasi-experimental study. Journal of Emergency Nursing. 2019 Nov;45(6):717.

Mirhaghi A, Ebrahimi M, Heydari A, Mazlom R. The reliability of the Canadian triage and Acuity Scale: Meta-analysis. North American Journal of Medical Sciences. 2015 Jul;7(7):299–305.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

Duongthong, P. (2024). การศึกษาความถูกต้องของระบบคัดแยกผู้ป่วยเขตสุขภาพที่4 (Regional4 Triage system) ที่แผนกผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลสระบุรีเปรียบเทียบกับระบบคัดแยก Emergency severity index และ Canadian Triage and Acuity scale. วารสารโรงพยาบาลสระบุรี, 38(1), 271037/1–15. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/SHMJ/article/view/271037