ผลลัพธ์จากการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูงที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำตามด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจหรือการเลือกสวนหลอดเลือดหัวใจเป็นอันดับแรกในโรงพยาบาลสระบุรี
คำสำคัญ:
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียก, หัตถการสวนหัวใจและใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด, ยาละลายลิ่มเลือดและต่อด้วยการสวนหัวใจและใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด, อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลบทคัดย่อ
บทนำ: โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียก (ST segment elevation myocardial infarction : STEMI) เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ ปัจจุบันแนะนำให้ทำหัตถการสวนหัวใจและใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด (Primary percutaneous intervention : PPCI) เป็นทางเลือกแรก อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดหลายประการในการทำ PPCI เช่น ความพร้อมของรพ. , อุปกรณ์ และบุคลากร ดังนั้นการรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดและต่อด้วยการสวนหัวใจและใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด (Pharmacoinvasive strategy: PI) จึงเป็นทางเลือกในการสวนหัวใจ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบ อัตราการเสียชีวิตระหว่างนอนรพ. (In hospital mortality) ระหว่าง PPCI กับ PI ในกลุ่มผู้ป่วย STEMI ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสระบุรีในปี 2564-2565
ระเบียบวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการรักษาด้วย PPCI และ PI ในโรงพยาบาลสระบุรีที่ได้รับการวินิจฉัยระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2565 วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป STATA
ผลการวิจัย: ผู้เข้าร่วมการศึกษา 249 คนโดยแบ่งเป็นกลุ่ม PPCI 79 คน , กลุ่ม PI 170 คน พบว่าอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล 21 คน (8.41%) โดยอยู่ในกลุ่ม PPCI 11 คน และ PI 10 คน อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HR 0.75 ; P = 0.74) และพบว่ากลุ่ม PPCI มีภาวะเลือดออก(Major bleeding) น้อยกว่ากลุ่ม PI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1.3% vs 4.7% ; HR 0.01 ; P < 0.01) แต่ในกลุ่ม PI มีระยะเวลา Total ischemic time , system delay และ reperfusion time ที่สั้นกว่า PPCI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (154 นาที vs 219 นาที ; P < 0.01 , 52 นาที vs 105 นาที ; P < 0.01 , 37 นาที vs 83 นาที P < 0.01) ตามลำดับ ส่วนระยะเวลาในการนอนรพ.ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งสองกลุ่ม (3.9 vs 3 วัน ; P = 0.21)
สรุปผลการวิจัย: ผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการรักษาโดยวิธี PI พบว่าอัตราการเสียชีวิตในรพ. ไม่ต่างจากการรักษาด้วยการทำ PPCI และมี total ischemic time , reperfusion time ที่สั้นกว่าแต่มีโอกาสเกิดเลือดออกได้มากกว่า)
References
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พ.ศ.2563, หน้า 7.
Roxana Mehran, Sunil V. Rao, Deepak L. Bhatt, C. Michael Gibson, Adriano Caixeta, John Eikelboom, et al. Standardized bleeding definitions for cardiovascular clinical trials: a consen- sus report from the Bleeding Academic Research Consortium. Circulation. 2011; 123:2736–2747.
Doo Sun Sim, Myung Ho jeong, Youngkeun Ahn, Young Jo Kim, Shung Chull Chae, Taek Jong Hong, et al. Pharmacoinvasive strategy versus primary percutaneous coronary intervention in patients with ST-segment–elevation myocardial infarction: a propensity score–matched analysis. Circulation: Cardiovascular Interventions, 2016;9:e003508.
Paul W. Armstrong, M.D., Anthony H. Gershlick, M.D., Patrick Goldstein, M.D., Robert Wilcox, M.D., Thierry Danays, M.D., Yves Lambert, M.D., et al. Fibrinolysis or Primary PCI in ST-Segment Elevation Myocardial Infarction. N Engl J Med 2013; 368:1379-1387.
Patrick T. O’Gara, Frederick G. Kushner, Deborah D. Ascheim, Donald E. CaseyJr, Mina K. Chung, James A. de Lemos, et al. 2013 ACCF/AHA guideline for the management of ST-elevation myocardial infarction: a report of the American College of Cardiology Foundation/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines. Circulation. 2013;127: e362–e425.
Borja Ibanez, Stefan James, Stefan Agewall, Manuel J Antunes, Chiara Bucciarelli-Ducci, Héctor Bueno, et al. ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation. Eur Heart J. 2012; 33:2569–2619.
Loïc Belle, Guillaume Cayla, Yves Cottin, Pierre Coste, Khalife Khalife, Jean-Noël Labèque, et al. French Registry on Acute ST-elevation and non−ST-elevation Myocardial Infarction 2015 (FAST-MI 2015). Design and baseline data. Archives of Cardiovascular Diseases, 2017 Jun-Jul;110(6-7):366-378.
Brahmajee K Nallamothu, Eric R Bates. Percutaneous coronary intervention versus fibrinolytic therapy in acute myocardial infarction: is timing (almost) everything? Am J Cardiol. 2003 Oct 1;92(7):824-6.
Peerawat Jinatongthai, Junporn Kongwatcharapong, Chee Yoong Foo, Arintaya Phrommintikul, Surakit Nathisuwan, Ammarin Thakkinstian, et al. Comparative efficacy and safety of reperfusion therapy with fibrinolytic agents in patients with ST-segment elevation myocardial infarction: a systematic review and network meta-analysis. Lancet. 2017 Aug 19;390(10096):747-759.
Patrick T O'Gara, Frederick G Kushner, Deborah D Ascheim, Donald E Casey Jr, Mina K Chung, James A de Lemos, et al. 2013 ACCF/AHA guideline for the management of ST-elevation myocardial infarction: a report of the American College of Cardiology Foundation/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines. J Am Coll Cardiol. 2013 Jan 29;61(4): e78-e140.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Rathaphong Lertwichitsilp

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information.