ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

การเตรียมบทความตันฉบับบทความ (Handing the Manuscript)

กองบรรณาธิการจะทำการตรวจบทความก่อนนำส่งผู้ทรงฯ เพื่อประเมินบทความ โดยบทความที่ผ่านการประเมินเบื้องต้นจะต้องมีโครงสร้างดังอธิบายด้านล่าง นอกจากนี้ กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการนำส่งผู้ทรงฯ หากบทความไม่ได้เตรียมมาอย่างถูกต้องตามที่เรากำหนด กองบรรณาธิการจะส่งกลับแก่ผู้นิพนธ์เพื่อแก้ไขก่อนนำส่งผู้ทรงฯ

ความยาวของบทความ (Length of the Manuscript) ไม่ควรเกิน 10-12 หน้ากระดาษ โดยไม่รวมเอกสารอ้างอิง รูปภาพ และตารางในกรณีที่บทความยาว ควรพิจารณาแยกบทความออกเป็นตอนๆ โดยแต่ละตอนมีความสมบูรณ์ของเนื้อหา

การพิมพ์บทความต้นฉบับ (Typing the Manuscript)  โดยทั่วไปแล้ว แนะนำให้ใช้โปรแกรม Microsoft Word สำหรับการเตรียมต้นฉบับในไฟล์ที่จะส่ง โปรดใช้การตั้งค่าหน้า A4 (21x29.7 ซม.) และระยะขอบโดยรอบคือ 2.54 ซม. กรุณาใช้อักษรอังสนาใหม่ (Angsana New) ขนาด 16 ที่มีระยะห่างระหว่างบรรทัด 1.5 บรรทัดตลอดต้นฉบับ  และให้รวบเนื้อหาทั้งหมด เป็น 1 ไฟล์เท่านั้น โดยแยกส่วนของรูปภาพ กราฟ ตาราง ไว้ท้ายของบทความ หน้าละ 1 รูป 1 ตาราง

ผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ร่วม (Authorship and Member) ผู้นิพนธ์ในแต่ละบทความควรมีส่วนร่วมในบทความนั้นจริง โดยเฉพาะขั้นตอนการกำหนดแนวคิด การออกแบบ การวิเคราะห์ผล ทบทวน บทความ การเขียน และการตรวจสอบบทความก่อนส่งตีพิมพ์ ซึ่งบุคคลที่นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น เช่น ผู้ให้ทุน สนับสนุน ผู้รวบรวมข้อมูล จะมิได้จัดเป็นผู้นิพนธ์และจะต้องมีผู้นิพนธ์ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบบทความนั้นๆ อย่างน้อย 1 ท่าน

หนังสือนำส่งบทความ (Transmittal letter) ส่งบทความที่พร้อมยังบรรณาธิการโดยเรียงลำดับดังนี้  ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และโทรสาร (ถ้ามี) และ E-mail ของผู้นิพนธ์ที่รับผิดชอบ (Corresponding Author) และผู้นิพนธ์ร่วมทุกท่าน  ควรให้รายละเอียดเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์แก่บรรณาธิการ เช่น ประเภทบทความ แนวคิดโดยสรุปของบทความ  ควรชี้แจงรายละเอียดในกรณีที่บางส่วนของบทความ หรือ ทั้งหมดเคยได้รับการตีพิมพ์มาก่อนในวารสารอื่น  ผู้นิพนธ์ต้องลงชื่อใน “เอกสารมอบลิขสิทธิ์ และการเปิดเผยข้อมูล (Copyright Assignment and Disclosure)”  ผู้นิพนธ์อาจจะแนะนำผู้กลั่นกรองบทความอื่นๆ (External Review) ได้

Copyright assignment form

โครงสร้างของบทความที่จะนำส่งกองบรรณาธิการ  

          ไฟล์บทความจะต้องมีโครงสร้างดังต่อไปนี้

  1. ชื่อบทความ ชื่อเรื่องของบทความต้องสั้นกระชับและสามารถอธิบายเข้าใจถึงแก่นหลักของบทความได้
  2. บทคัดย่อและคำไขรหัส บทคัดย่อต้องมีความยาวน้อยกว่า 350 คำ และสรุปสาระสำคัญของบทความสั้น ๆ โดยไม่แบ่งหัวข้อย่อย ซึ่งเนื้อหาประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์ วิธีการ ผล สรุปผล และจะต้องไม่อ้างถึงเอกสาร รูปภาพ ตารางใดๆ ส่วนของคำสำคัญจะต้องได้รับการจัดทำดัชนีในหัวเรื่องหัวเรื่องทางการแพทย์ (MeSH) โปรดใส่คำสำคัญ 4-6 คำต่อต้นฉบับ ดังตัวอย่าง

 ตัวอย่างบทคัดย่อภาษาอังกฤษ 

Date fruit (Phoenix dactylifera L.) has been known as a fruit with richness of nutrients, dietary fiber, essential minerals and vitamin contents. Previous studies reported that date fruit provided a variety of health benefits. Over the past five years, date palms have been cultivated throughout the north-eastern regions of Thailand, and date fruit becomes popular for Thai people. However, very limited data of date fruit in association with oral health benefits are available. The purpose of this study was to determine the effects of date fruit extracts on oral cancer cell lines. Date fruits derived from three stages including Kimri; Khalal; and Rutab were prepared for crude extraction by ethanol. Two oral cancer cell lines (ORL-48T and ORL-136T) were used in this study. Primary oral epithelial cells isolated from gingival tissue were used as control. Cell cytotoxicity and cell viability were determined by MTT assay.  DPPH assay was used to evaluate the antioxidant activity in date fruit extracts. According to analyzing chemical compositions, phenolic compounds and flavonoids were the essential components in date fruit extracts. According to MTT assays, date fruit extracts from three stages had inhibitory effects on two oral cancer cell lines, as compared with normal oral epithelial cells (p-value<0.05). The crude extracts from Khalal stage demonstrated the best inhibitory effect on reduction of oral cancer cell growth. In conclusion, the present study provides new evidence of inhibitory effects of date fruit extracts on oral cancer cell lines. These findings imply clinical use of date fruit extracts for oral health benefits.

Keywords: Date fruit/ Human gingival epithelial cells/ Oral squamous carcinoma cell lines

 

ตัวอย่างบทคัดย่อภาษาไทย

อินทผลัมเป็นผลไม้โบราณ มีรสชาติหวาน มีคุณค่าทางอาหารสูง และอุดมไปด้วยวิตามินต่าง ๆ เป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อินทผลัมกลายเป็นผลไม้ได้รับความนิยมในประเทศไทยมากขึ้น โดยปลูกมากที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีการศึกษาผลของสารสกัดหยาบจากผลอินทผลัมกับเซลล์ในช่องปากมาก่อน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดหยาบจากผลอินทผลัมในระยะผลดิบ ผลสุก และสุกงอมต่อเซลล์ในช่องปาก ซึ่งเซลล์ที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยเซลล์เยื่อบุผิวเหงือกชนิดปฐมภูมิ และเซลล์มะเร็งช่องปากชนิดสแควมัสเซลล์ 2 ชนิด ได้แก่ ORL-48T และ ORL-136T โดยการสกัดผลอินทผลัมด้วยตัวทำละลายเอทานอล ทำการทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดหยาบจากผลอินทผลัมต่อเซลล์ในช่องปากด้วยวิธีเอ็มทีทีและวิเคราะห์ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากผลอินทผลัมด้วยวิธีดีพีพีเอช จากวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดหยาบจากผลอินทผลัมพบว่า สารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์เป็นสารประกอบสำคัญของสารสกัดหยาบจากผลอินทผลัม  ผลการทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดหยาบจากผลอินทผลัมต่อเซลล์ในช่องปากด้วยวิธีเอ็มทีทีพบว่า สารสกัดหยาบจากผลอินทผลัมในระยะผลดิบ ผลสุก และสุกงอม มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งช่องปากทั้ง 2 ชนิด แต่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุผิวเหงือกชนิดปฐมภูมิ (p-value<0.05) โดยสกัดหยาบจากผลอินทผลัมในระยะผลสุกมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งช่องปากทั้ง 2 ชนิดมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสกัดหยาบจากผลอินทผลัมในระยะผลดิบและผลสุกงอม  การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเบื้องต้นของสารสกัดหยาบจากอินทผลัมในระยะผลดิบ ผลสุก และผลสุกงอมในระดับเซลล์ จึงควรมีการศึกษาต่อไปในระดับโมเลกุลเพื่อให้ได้ทราบถึงกลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากผลอินทผลัมที่มีต่อเซลล์ดังกล่าวและสามารถนำไปต่อยอดความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก

คำไขรหัส: ผลอินทผลัม/ เซลล์เยื่อบุผิวเหงือกชนิดปฐมภูมิ/ เซลล์มะเร็งช่องปากชนิดสแควมัสเซลล์

  1. บทนำ บทนำต้องมีจุดประสงค์โดยรวมของการศึกษาหรือบทความ โปรดสรุปข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ได้รับจากวรรณกรรมและให้แน่ใจว่าได้ระบุความสำคัญและนัยสำคัญของการศึกษาหรือบทความ
  2. วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ ผู้เขียนควรกล่าวถึงวัสดุและวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลการสังเคราะห์ข้อมูลตลอดจนการวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ในการศึกษา
  3. ผล กรุณานำเสนอข้อมูลในลำดับที่เหมาะสมซึ่งสามารถอ้างถึงตัวเลข ตาราง กราฟ รูปภาพ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม ผลลัพธ์ควรเป็นไปตามเป้าหมายของการศึกษา
  4. บทวิจารณ์ อภิปรายความหมายของผลการศึกษาอย่างชาญฉลาด โดยรวบรวมการศึกษาที่มีลักษณะคล้ายกันที่น่าสนใจ และการศึกษาที่เป็นไปได้ในอนาคต ผลการศึกษาของคุณแตกต่างจากการศึกษาก่อนหน้าอย่างไร โปรดอภิปราย
  5. บทสรุป ระบุประโยคสั้น ๆ ที่เน้นการค้นพบใหม่ของคุณ ต้องระบุประเด็นสำคัญในบทสรุปเท่านั้น
  6. เอกสารอ้างอิง การอ้างอิงแต่ละรายการจะต้องแสดงรายการโดยใช้รูปแบบการอ้างอิงของวารสารซึ่งปรับจากสไตล์แวนคูเวอร์ (Vancouver style) เล็กน้อย กรุณาใช้ตัวเลขอารบิกเป็นตัวยกเมื่ออ้างถึงในข้อความเช่น 1, 1,2, 1-3 ชื่อวารสารต้องอ้างถึงในรูปแบบย่อตามที่พบในรายการ NLM การอ้างอิงวารสารนั้นอนุญาตให้เขียนหากชื่อผู้แต่งมีมากกว่า 6 คน ให้เขียนอ้างอิงชื่อผู้แต่งเฉพาะ 6 คนแรกเท่านั้น
  7. ตาราง (ถ้ามี) ตารางจะต้องสอดคล้องกับข้อมูลที่นำเสนอและง่ายต่อการตีความ ตารางจะต้องอยู่ในลำดับที่เหมาะสมตามข้อความหลัก พร้อมคำอธิบายตารางไว้ตำแหน่งด้านบนของตาราง
  8. รูปประกอบ (ถ้ามี) รูปประกอบที่นำเสนอต้องมีแก่นสารที่เกี่ยวข้องกับข้อความที่อธิบายและวางเรียงตามลำดับ สัมพันธ์กับเนื้อหาของบทความ พร้อมคำอธิบายรูปภาพไว้ตำแหน่งด้านล่างของรูปภาพ

 

รูปแบบการเขียนบทความ 

บทความวิทยาการ และบทความปริทัศน์ควรประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. ชื่อเรื่อง (Title page) ให้เป็นแผนที่ “1” โดยพิมพ์สิ่งต่อไปนี้

           1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ควรกระชับและมีความหมายครอบคลุมเนื้อหา ไม่ควรใช้คำย่อ หรือชื่อทางการค้า (ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

           1.2 ผู้นิพนธ์ และผู้ร่วมนิพนธ์ (Author, Co-Author) เขียนชื่อ นามสกุล  ตำแหน่งทางวิชาการ ระบุสถานที่ทำงาน และที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และ e-mail (ต้องมีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)

           1.3 เชิงอรรถ (Footnote) ควรประกอบด้วย

                     1.3.1 แหล่งเงินทุนสนับสนุน (Source of support) เช่น ทุนสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2536

                     1.3.2 องค์กรที่บทความเคยนำเสนอ โดยระบุชื่อองค์กร หรือการประชุม พร้อมสถานที่ที่นำเสนอ

                     1.3.3 ตำแหน่งหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Author Position) ให้ระบุตำแหน่งหน้าที่ของผู้นิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันที่บทความนั้นมีส่วนเกี่ยวข้อง

                     1.3.4 ผู้นิพนธ์ที่รับผิดชอบบทความ (Correspondence Author) ระบุชื่อ นามสกุล ที่อยู่ของผู้รับผิดชอบ หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และ e-mail (ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

                     1.3.5 ชื่อย่อของบทความ (Abbreviated Title) ให้ระบุชื่อย่อสั้นๆ ของบทความเพื่อสะดวกในการจัดกลุ่มบทความ (Running Head)

  1. บทคัดย่อ (Abstract)

           2.1 สรุปสาระสำคัญของวัตถุประสงค์ วิธีการ ผล สรุปผล โดยไม่แบ่งหัวข้อย่อย และจะต้องไม่อ้างถึงเอกสาร รูปภาพ ตารางใดๆ สำหรับฟันให้เขียนชื่อแทนสัญลักษณ์  

           2.2 บทคัดย่อภาษาไทย จะไม่ใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษ แต่แปลเป็นภาษาไทย หรือให้เขียนทับศัพท์ที่เป็นภาษาไทย และไม่ต้องวงเล็บคำเดิม

           2.3 บทความวิจัย จะต้องเตรียมบทคัดย่อให้เป็นรูปแบบมาตรฐาน (Structured Abstract Format) ซึ่งไม่ควรยาวเกินกว่า 350 คำ

           2.4 บทคัดย่อของบทความประเภทอื่นๆ จะไม่มีรูปแบบมาตรฐาน (Unstructured Abstract) ควรเตรียมให้มีความยาวพอเหมาะ แต่ไม่ควรเกิน 250 คำ

           2.5 อนึ่งเมื่อบทความนั้นเป็นภาษาไทย จะต้องเตรียมหน้าชื่อเรื่อง และบทคัดย่อที่เป็นภาษาอังกฤษต่อท้ายสุดของบทความด้วยเสมอโดยมีเนื้อหาเดียวกัน และในกรณีที่บทความเป็นภาษาอังกฤษ จะต้องเตรียมหน้าชื่อเรื่อง และบทคัดย่อเป็นภาษาไทยต่อท้ายสุดของบทความเช่นเดียวกัน

           2.6 คำไขรหัส (Key Words) ใต้บทคัดย่อจะต้องมีคำไขรหัส ซึ่งควรใช้คำที่ปรากฏใน “Medical Subject Heading (MeSH)” ซึ่งอยู่ใน “Index Medicus”

  1. เนื้อเรื่อง (Text)

           ใช้ได้ทั้งภาษาไทยล้วน หรือภาษาอังกฤษล้วน ถ้าเขียนเนื้อเรื่องเป็นภาษาไทย ตำแหน่งคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ปนกับภาษาไทยนั้น ให้แปลเป็นภาษาไทย โดยเขียนคำเดิมกำกับไว้ เฉพาะครั้งแรกที่กล่าวถึงในเนื้อเรื่อง (โดยให้ขึ้นต้นตัวแรกของคำภาษาอังกฤษเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ) หากคำใดที่ราชบัณฑิตยสถานรับรองแล้ว ให้ใช้คำนั้น ถ้าไม่มีการแปลให้ใช้วิธีเขียนทับศัพท์ และวงเล็บคำเดิมกำกับไว้เฉพาะครั้งแรกที่กล่าวถึง โดยเนื้อเรื่องควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ

           3.1 บทนำ (Introduction) ควรเขียนถึงลักษณะของปัญหา วิจัย สถานภาพของความรู้ วัตถุประสงค์ ขอบเขต การปริทัศน์เอกสารที่เกี่ยวข้อง

           3.2 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ (Materials and Methods) กล่าวถึงรายละเอียดของวัสดุที่นำมาทดลอง เช่น ชื่อเคมีภัณฑ์ ชนิดของสัตว์ทดลอง รวมทั้งแหล่งที่มา เพศ อายุ จำนวน ลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์

           3.3 ผล (Results) ควรจำแนกเป็นหมวดหมู่ และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ อาจะเสนอในรูปแบบของตาราง กราฟ รูปภาพ เป็นต้น

           3.4 บทวิจารณ์ (Discussion) สามารถวิจารณ์ได้ตั้งแต่วัตถุประสงค์ วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการ ผลที่ได้รับจากการทดลอง หรือเปรียบเทียบกับผลการศึกษาของผู้อื่น รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ และชี้ให้เห็นแนวทางและนำผลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วย

           3.5 บทสรุป (Conclusion) กล่าวถึงผลโดยย่อและข้อสรุปที่ได้จากการวิเคราะห์วิจารณ์

           3.6 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) กล่าวขอบคุณองค์กร หรือบุคคลที่ผู้เขียนได้รับการช่วยเหลือ

           3.7 เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการรวบรวมเอกสารต่างๆ ที่อ้างอิงในเนื้อเรื่อง หากตอนใดที่ผู้เขียนมิได้อ่านเองโดยตรงแต่นำข้อความใช้อ้างอิงด้วยต้องแจ้งให้ชัดเจนว่าผู้ใดอ้างไว้ รวมทั้งแหล่งที่มาของเอกสาร เช่น ( Smith3เป็นผู้อ้าง) หรือ (Cited by Smith3 ในบทความภาษาอังกฤษ) อนึ่ง เนื้อเรื่องในบทความประเภทอื่นๆ มิได้มีรูปแบบที่แน่นอน ผู้นิพนธ์ควรเรียบเรียงตามความเหมาะสมกับสากลนิยม

  1. วิธีการเขียนเอกสารอ้างอิง (References)

อ้างอิงเอกสารโดยใช้ เลขอารบิกทำเป็น Superscript เรียงตามลำดับที่อ้างถึง โดยใช้อักษรย่อของวารสารตาม “Index Medicus” ถ้าใช้ หนังสือจะต้องใช้ ฉบับล่าสุด และบอก หน้าที่อ้างอิงเสมอ

การเขียนเอกสารอ้างอิง ยึดหลักการเขียนของ International Committee of Medical Journal Editors. Uniform Requirements for Manuscripts Submitted to Biomedical Journals, (https://www.nim.nih.gov/bsd/ uniform_requirements.html 2006)

- กรณีที่เอกสารอ้างอิงเป็นภาษาไทย ต้องเปลี่ยน ให้เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด รวมทั้งชื่อสกุลของผู้นิพนธ์ เช่น

ฐิติพร บุนนาค, เข็มพร กิจสหวงศ์. การรักษาทาง ทันตกรรมในผู้ป่วยกรามอาการ ทีเออาร์ร่วมกับปากแหว่ง เพดานโหว่: รายงานผู้ป่วย ว.ทันต. ขอนแก่น 2550;10(1):21-32.

Boonnak T, Kitsahawong K. Dental treatment in thrombocytopenia absent radius syndrome with cleft lip and palate: A case report. Khon Kaen Dent J 2007;10(10):21-32.

- เขียนชื่อสกุลของผู้แต่งก่อน ตามด้วยอักษรชื่อตัวและชื่อกลางโดยไม่ต้องมีเครื่องหมายคั่นหากผู้ แต่งไม่ เกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อทุกคน โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นแต่ละ ชื่อหลังชื่อสุดท้ายใช้ เครื่องหมายมหัพภาค (.) หากผู้แต่งมีมากกว่า 6 คน ใส่ 6 ชื่อแรกตามด้วยคำว่า et al แล้วตาม ด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) เช่น

Goate AM, Haynes AR, Owen MJ, Farrall M, James LA, Lai LY, et al. Predisposing locus for Aizheimer’s dis-ease on chromosome 21. Lancet 1989;1(8634):352-5.

- ผู้แต่งเป็นกลุ่มคณะหรือสถาบัน ใช้ชื่อกลุ่ม คณะ หรือสถาบันเป็นผู้แต่ง เช่น

The Royal Marsden Hospital Bone-Marrow Transplantation Team. Failure of syngeneic bone-marrow graft without preconditioning in post-hepatitis marrow aplasia. Lancet 1977;2:274-4.

- ถ้าไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้เขียนชื่อบทความขึ้นเลย เช่น

Coffee drinking and cancer of the pancreas (editorial). BMJ. 1981; 283: 628.

 การเขียนเอกสารอ้างอิงจากวารสาร

ชื่อผู้แต่ง (Author). ชื่อบทความ (Title of the article). ชื่อวารสาร (Title of the Journal) ปีพิมพ์ (Year); ฉบับที่(Volume): หน้าแรก-หน้าสุดท้าย (Page).

You CH, Lee KY, Chey Ry, Menguy, Menguy R. Electrogastro graphic study of patient with unexpected nausea, bloating and vomiting. Gastroenterology 1980;79(2):311-4.

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากหนังสือ

ชื่อผู้แต่ง (Author). ชื่อหนังสือ (Title of the book). ครั้งที่พิมพ์ (Edition). สถานที่พิมพ์ (Place of Publication): สำนักพิมพ์ (Publisher); ปี (Year). หน้า (p.) เช่น

Colson JH, Armour WJ. Sport injuries and their treatment. 2nd ed. London: S.paul;1986.111-35.

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากบทความในหนังสือ

ชื่อผู้ แต่ง (Author). ชื่อบท (Title of a chapter). In: ชื่อบรรณาธิการ (editor(s)). ชื่อหนังสือ (Title of the book). ครั้งที่พิมพ์ (Edition). สถานที่พิมพ์ (Place of publication): สำนักพิมพ์(Publisher); ปีที่พิมพ์ (Year). หน้า (หน้าแรก-หน้าสุดท้าย).

Weinstein L, Swartz MN. Pathologic properties of invading microorganisms. In: Sodeman WA Jr, Sodeman WA, editors. Pathologic physiology mechanisms of disease. 3rd ed. Philadelphia: Saunders; 1974. 457-72.

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากรายงานการ ประชุม

Vivian VL, editor. Child abuse and neglect: a medical community response. Proceedings of the First AMA National Conference on Child Abuse and Neglect: 1984 Mar 30-31, Chicago: American Medical Association; 1985.

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากบทความที่เสนอ ในการประชุม

Harley NH. Comparing radon daughter dosimetric and risk model. In: Gammage RB, Kaye SV, editors. Indoor air and human health. Proceedings of the Seventh Life Sciences. Symposium: 1984 Oct 29-31; Knoxville (TN), Chelsea (MI): Lewis; 1985.69-78.

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์

Youssef NM. School adjustment of children with congenital heart disease [dissertation]. Pittsburgh (PA): Univ. of Pittsburgh; 1988.

การเขียนเอกสารอ้างอิงบทความใน หนังสือพิมพ์

Rensberger B, Specter B. CFCs may be destroyed by natural process. The Washington Post 1989 Aug 7; Sect. A:2 (col.5).

การเขียนเอกสารอ้างอิงอุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ

AIDS epidemic: the physician’s role [video-recording]. Cleveland (OH): Academy of Medicine of Cleveland; 1987.

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากสิ่งพิมพ์ ที่อยู่ในระหว่างการพิมพ์ (In press)

Lillywhite HB, Donald JA. Pulmonary blood flow

เอกสารอ้างอิงที่อยู่ระหว่างเตรียมส่งพิมพ์จะไม่จัดว่าเป็น เอกสารอ้างอิง แต่จะปรากฏในลักษณะของ “unpublished” หรือ “personal communication” โดยจะปรากฏได้ใน footnote เท่านั้น เช่น

Jones AG and Smith J, unpublished - Smith J, 1960, personal communication

การเขียนเอกสารอ้างอิง สื่อ หรือวัสดุ อิเล็กทรอนิกส์

CD-ROM - Anderson SC, Poulsen KB. Anderson’s elec-tronic atlas of hematology [CD-ROM]. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2002.

วารสารบนอินเตอร์เน็ต

Abood S. Quality improvement initiative in nursing homes: the ANA acts in an advisory role. Am J Nurs [serial on the Internet]. 2002 Jun [cited 2002 Aug 12];102(6): [about 3 p.]. Available from: https:// www.nursingworld.org /AJN/2002/june/Wawatch.htm.

Monograph บนอินเตอร์เน็ต

Foley KM, Gelband H, editors. Improving pal-liative care for cancer [monograph on the Internet] Washington: National Academy Press; 2001 [cited 2002 Jul 9]. Available from: https://www.nap.edu/ books/0309074029/html/.

Homepage/Web site

Cancer-Pain.org [homepage on the Internet]. New York: Association of Cancer Online Resources, Inc.; c2001-1[updated 2002 May 16; cited 2002 Jul 9]. Available from: https://www.cancer-pain.org/.

ส่วนหนึ่งของ Homepage/Web site

American Medical Association [homepage on the Internet]. Chicago: The Association; c1995-2002 [updated 2001 Aug 23; cited 2002 Aug 12]. AMA Office of Group Practice Liaison; [about 2 screens]. Available from: https://www.ama-assn.org/ama/pub/ category/1736.html.

สิ่งอ้างอิงที่เป็น Computer file

Hemodynamics III: the ups and downs of Hemodynamics [computer program]. Version 2.2 Orlando (FL): Computerized Educational Systems; 1993.

 

  1. ตาราง (Table)

           ทำตารางแยกจากเนื้อเรื่องโดยพิมพ์หน้าละ 1 ตารางเรียงลำดับให้สอดคล้องกับที่อ้างถึง เพื่อใช้ประกอบการบรรยายเนื้อเรื่อง (supplement the text) ทั้งนี้จะต้องระบุแหล่งที่มาของตารางที่เคยตีพิมพ์และให้บรรยายตารางเป็นภาษาไทย คู่กับภาษาอังกฤษ ยกเว้นบทความที่เป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ คำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ข้อความในตารางให้ใช้ภาษา อังกฤษ ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขอารบิก พร้อมทั้งให้ใช้ดินสอเขียน ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ด้านหลังของตาราง

  1. ภาพ (Illustration)

           ภาพทุกภาพต้องมีการอ้างถึงในบทความ โดยตัวอักษรในภาพให้ใช้ภาษาอังกฤษ ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขอารบิก ภาพลายเส้นแผนภูมิ หรือกราฟ (graph) ควรมีความคมชัด เมื่อขยายแล้วไม่แตกคำบรรยายภาพระบุชื่อสีและ/หรือวิธีย้อม กำลังขยายไว้ในตอนท้ายของคำบรรยาย ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล หรือภาพสแกน แยกไฟล์ต่างหากจากบทความ บันทึกภาพเป็น Grayscale (ขาว-ดำ) โดยใช้นามสกุล .tiff หรือ .jpeg ขนาดไม่ต่ำกว่า 4 x 6 นิ้ว (4M หรือ Dimensions 1600x1200)

  1. จดหมายอนุญาตให้ตีพิมพ์เอกสารสงวนสิทธิ์ (Letter of Permission for Copyright Material)

           รูปภาพ สื่อ ตาราง ที่ได้รับการตีพิมพ์ไว้ก่อนในวารสารอื่นและสงวนสิทธิ์ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ถือลิขสิทธิ์ (copyright holder) เป็นลายลักษณ์อักษร

           การอ้างคำพูด (Quotations) จะต้องเขียนไว้ใน เครื่องหมายสัญประกาศ (quotation marks) พร้อมกับระบุ เอกสารอ้างอิง ทั้งนี้ถ้ามากกว่า 5 บรรทัด จะต้องได้รับอนุญาต จากผู้นิพนธ์ต้นฉบับ

           รูปภาพมนุษย์ (Photograph of person) ถ้าภาพนั้น มีโอกาสที่จะบ่งบอกได้ว่าเป็นบุคคลใด (identifiable) จะ ต้องแสดงหลักฐานการได้รับอนุญาตจากเจ้าของรูปภาพว่าอนุญาต ให้เผยแพร่ได้

  1. หน่วยมาตรฐานการวัด (Unit of Measurement)

           หน่วยมาตรฐานการวัดความยาว ความสูง น้ำหนักปริมาตรควรใช้ระบบเมตริก อุณหภูมิควรใช้หน่วย เป็นองศาเซลเซียส ความดันโลหิตควรใช้หน่วยเป็น มิลลิเมตรปรอทการตรวจทางโลหิตวิทยาและตรวจทางชีวเคมีควรใช้หน่วยเป็นระบบเมตริก หน่วยการวัดอื่น ๆ ควรใช้มาตรฐานสากลนิยม

  1. คำย่อและสัญลักษณ์ (Abbreviation and Symbol)

           ใช้คำย่อที่เหมาะสม โดยหลีกเลี่ยงการใช้คำย่อที่ชื่อเรื่อง และในบทคัดย่อควรใช้คำย่อเฉพาะในกรณีจำเป็น ทั้งนี้จะต้องใช้คำเต็มในบริเวณแรกที่อ้างถึงในบทความ และวงเล็บคำย่อไว้ด้านท้ายฟัน (tooth) เมื่อระบุเป็นซี่ใดซี่หนึ่งให้ใช้การเขียนชื่ออย่างเดียว เช่น ฟันเขี้ยวบนขวา หรือ upper right canine ถ้าใช้สัญลักษณ์ให้มีชื่อในวงเล็บต่อท้ายเฉพาะครั้งแรกที่เอ่ยถึง เช่น ฟัน #31 (ฟันตัดซี่กลางด้านซ้าย) เป็นต้น

     10. จริยธรรม (Ethics)

           วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะพิจารณาลงตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เฉพาะการวิจัยที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือจากสถาบันของรัฐอื่น ๆ