การรั่วบริเวณรอยผนึกของซองบรรจุเวชภัณฑ์พีลเพ้าช์ใหม่และใช้ซ้ำ

Main Article Content

Somkiat Luengpailin
Angkana Klangthong
Suthin Jinaporntham
Nongpanga Jitpreeda
Budsarapon Mahapisanpanitchakun

บทคัดย่อ

แม้ว่าซองพีลเพ้าช์สำหรับบรรจุเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อถูกออกแบบโดยผู้ผลิตให้ใช้งานเพียงครั้งเดียว แต่ก็มักมีการนำกลับมาใช้ซ้ำ ด้วยเหตุผลด้านต้นทุนและสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการใช้ซองพีลเพ้าช์ในคลินิกทันตกรรม และเพื่อวัดอัตราการรั่วซึมบริเวณรอยผนึกระหว่างการเก็บซองใหม่และซองใช้ซ้ำ คลินิกทันตกรรมในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ทั้งหมด 66 คลินิก ถูกทาบทามให้เข้าร่วมในส่วนของการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ในส่วนของการศึกษาเชิงทดลอง ทำการเตรียมซองพีลเพ้าช์ 3 กลุ่ม ได้แก่ ซองใหม่ ซองใช้ซ้ำครั้งที่ 1 และซองใช้ซ้ำครั้งที่ 2 โดยอิสระจากกัน จำนวน 600 ตัวอย่างต่อกลุ่ม และทำให้ปลอดเชื้อโดยการอบด้วยไอน้ำร้อนแรงดันสูง แล้วสุ่มเลือก 20 ตัวอย่างจากแต่ละกลุ่มตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 30 เพื่อทำการทดสอบการรั่วซึม โดยการฉีดสารละลายสีโทลูอิดีนบลูเข้าไปในซอง สังเกตช่องทางการรั่วซึมบริเวณรอยผนึกโดยใช้เวลา 5 วินาทีต่อด้าน และนับจำนวนของทั้งสองด้าน แบบสอบถามที่ได้รับกลับมามีจำนวนเท่ากับ 36 อัตราการตอบกลับเท่ากับร้อยละ 54.5 มีรายงานการใช้ซองพีลเพ้าช์ซ้ำ อย่างน้อย 1 ครั้ง หรือมากกว่า จากคลินิกทางทันตกรรมประมาณร้อยละ 93 ด้วยเหตุผลหลายประการ ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นอย่างไม่คาดหมายว่าซองพีลเพ้าช์ทั้ง 3 กลุ่มมีรอยรั่วตั้งแต่วันแรกของการทดสอบ โดยซองใหม่ ซองใช้ซ้ำครั้งที่ 1 และซองใช้ซ้ำครั้งที่ 2 มีอัตราการรั่วร้อยละ 64.9, 56.3 และ 66.3 ตามลำดับ จากการทดสอบไคสแควร์พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของอัตราการรั่ว ระหว่างซองใหม่กับซองใช้ซ้ำครั้งที่ 1 (p = 0.0026) และระหว่างซองใช้ซ้ำครั้งที่ 1 กับซองใช้ซ้ำครั้งที่ 2 (p = 0.0004) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างซองใหม่กับซองใช้ซ้ำครั้งที่ 2 (p = 0.6030) จากผลการศึกษานี้จึงสรุปได้ว่ามากกว่าร้อยละ 90 ของคลินิกทันตกรรมในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีการใช้ซองพีลเพ้าช์ซ้ำ ซองใหม่มีอัตราการรั่วมากกว่าซองที่ใช้ซ้ำครั้งที่ 1 แต่ไม่แตกต่างจากซองที่ใช้ซ้ำครั้งที่ 2

Article Details

How to Cite
1.
Luengpailin S, Klangthong A, Jinaporntham S, Jitpreeda N, Mahapisanpanitchakun B. การรั่วบริเวณรอยผนึกของซองบรรจุเวชภัณฑ์พีลเพ้าช์ใหม่และใช้ซ้ำ. Khon Kaen Dent J [อินเทอร์เน็ต]. 28 มิถุนายน 2018 [อ้างถึง 25 เมษายน 2025];21(1):1-9. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/KDJ/article/view/131125
บท
Articles
Share |

References

1. Schwartz R, Davis R. Safe storage times for sterile dental packs. Oral Surg Oral Med Oral Pathol 1990;70(3):297-300.
2. Rutala WA, Weber DJ, and the Healthcare Infection Control Practices Advisory Committee. Guideline for disinfection and sterilization in healthcare facilities[internet]. 2008. [cited 2015 August 23]. Available from www.cdc.gov/hicpac/pdf/guidelines/Disinfection_Nov_2008.pdf
3. Caudell PH, RN, CNOR, ACSP. Basics of peel-pouch packaging [internet]. 2014. [cited 2015 July 26]. Available from www.ncahcsp.org/.../1401-1_In-service_Peel_Pouch.pdf
4. Punya-ngarm R, Sawasri K.Shelf life of sterilized rolls used in dental practice. Th J DPH 007;12(1):61-7
5. ASTM International. Standard test method for detecting seal leaks in porous medical packaging by dye penetration [internet]. 2013. [cited 2015 November 6]. Available from www.astm.org/Standards/F1929.htm
6. Tran K. Dye penetration vs. Gross leak detection (Bubble) [internet]. [cited 2015 November 8] Available from www.westpak.com/images/pdf/dye_penetration_vs_gross_leak.pdf
7. Pavey G. New applications for dye penetration testing of SBS packages and films [internet]. 2009 [cited 2015 November 17] Available from www.innovativetechnologyconferences. com/files/public/geoffpavey.pdf
8. CDC. Guideline for disinfection and sterilization in healthcare facilities. Centers for DiseaseControl and Prevention; 2008. Available from: ttps://www.cdc.gov/hicpac/pdf/guidelines/Disinfection_Nov_2008.pdf. Accessed August 11, 2015.
9. Bhumisirikul W, Bhumisirikul P, Pongchaireks P. Long-term storage of small surgical instruments in autoclaved packages. Asian J Surg 2003; 26:202-4.
10. Seavey R. Troubleshooting failed sterilization loads: Process failures and wet packs/loads. Am J Infect Control. 2016;44(5 Suppl):e29-34.
11. Klapes NA, Greene VW, Langholz AC. Microbial contamination associated with routine aseptic practice. J Hosp Infect 1987;10(3):299-304.
12. Would Health Organization. Practical guidelines for infection control in health care facilities [internet].2004 [cited 2017 November19]. Available from:https://www.wpro.who.int/
publications/docs/practical_guidelines_infection_control.pdf