การศึกษาความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรบนและล่างในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียวและสองข้างที่มารับการผ่าตัดปลูกกระดูกเบ้าฟัน : การศึกษาย้อนหลัง

Main Article Content

กนกลักษณ์ ตระการผล
อมรรัตน์ มโนสุดประสิทธิ์
รัชฎา ฉายจิต
เสาวลักษณ์ ลิ้มมณฑล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรบนและล่างในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียวและสองข้างหลังปลูกกระดูกเบ้าฟันแบบทุติยภูมิ และศึกษาผลของการปลูกกระดูกเบ้าฟันแบบทุติยภูมิต่อการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรบนและล่าง  โดยทำการศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่มารับการปลูกกระดูกเบ้าฟันแบบทุติยภูมิ ที่คลินิกศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563  และศึกษาจากภาพรังสีวัดศีรษะด้านข้างโดยวัดค่ามุมและระยะแบบดิจิทัล ค่าที่วัดแสดงถึงความสัมพันธ์ในแนวหน้าหลังและแนวดิ่งและการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรบนและล่าง ผลการศึกษาพบมีผู้ผ่านเกณฑ์คัดเข้า 21 ราย เป็นผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียว 18 ราย และสองข้าง 3 ราย ในกลุ่มผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียวใช้สถิติมาร์จินอลโฮโมจินิตี้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรหลังปลูกกระดูกเบ้าฟันแบบทุติยภูมิ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงหลังผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.317) และใช้สถิติทดสอบทีแบบจับคู่ศึกษาการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรพบว่ายังคงมีการเจริญเติบโตอยู่ ในกลุ่มผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่สองข้างใช้สถิติพรรณนาอธิบายการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์และการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรหลังปลูกกระดูกเบ้าฟันแบบทุติยภูมิ โดยพบการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในแนวดิ่งและมีการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรอยู่ สรุปจากการศึกษานี้ หลังปลูกกระดูกเบ้าฟันแบบทุติยภูมิไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรบนและล่างในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียว ส่วนผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่สองข้างมีการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง และกระดูกขากรรไกรบนและล่างยังมีการเจริญเติบโตทั้งสองกลุ่ม

Article Details

How to Cite
1.
ตระการผล ก, มโนสุดประสิทธิ์ อ, ฉายจิต ร, ลิ้มมณฑล เ. การศึกษาความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรบนและล่างในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียวและสองข้างที่มารับการผ่าตัดปลูกกระดูกเบ้าฟัน : การศึกษาย้อนหลัง. Khon Kaen Dent J [อินเทอร์เน็ต]. 15 มีนาคม 2024 [อ้างถึง 25 เมษายน 2025];27(1):12-23. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/KDJ/article/view/262159
บท
Articles
Share |

References

Chowchuen B, Kiatchoosakun P. Guidebook of incidence, cause, prevention, cleft lip-cleft palate and craniofacial deformities. 1st ed. Research center of cleft lip-cleft palate and craniofacial deformities faculty of medicine, Khon Kaen University; 2011. (in Thai)

Chigurupati R, Heggie A, Bonanthaya K. Cleft lip and palate: an overview. Oral Maxillofac Surg Oxford: Wiley-Blackwell 2010:945-72.

Ross RB. Treatment variables affecting facial growth in complete unilateral cleft lip and palate. Part 3: alveolus repair and bone grafting. Cleft Palate J 1987;24(1):33-44.

Shetye PR, Evans CA. Midfacial morphology in adult unoperated complete unilateral cleft lip and palate patients. Angle Orthod 2006;76(5):810-6.

da Silva Júnior OG, Normando AD, Capelozza Júnior L. Mandibular morphology and spatial position in patients with clefts: intrinsic or iatrogenic? Cleft Palate Craniofac J 1992;29(4):369-75.

Shi B, Losee JE. The impact of cleft lip and palate repair on maxillofacial growth. Int J Oral Sci 2015;7(1):14-7.

Chang HP, Chuang MC, Yang YH, Liu PH, Chang CH, Cheng CF, et al. Maxillofacial growth in children with unilateral cleft lip and palate following secondary alveolar bone grafting: an interim evaluation. Plast Reconstr Surg 2005;115(3):687-95.

Berkowitz S. The facial growth pattern and the amount of palatal bone deficiency relative to cleft size should be considered in treatment planning. Plast Reconstr Surg Glob Open 2016;4(5):e705.

Seo YJ, Park JW, Kim YH, Baek SH. Initial growth pattern of children with cleft before alveolar bone graft stage according to cleft type. Angle Orthod 2011; 81(6):1103-10.

Naqvi ZA, Shivalinga BM, Ravi S, Munawwar SS. Effect of cleft lip palate repair on craniofacial growth. J Orthod Sci 2015;4(3):59-64.

Han BJ, Suzuki A, Tashiro H. Longitudinal study of craniofacial growth in subjects with cleft lip and palate: from cheiloplasty to 8 years of age. Cleft Palate Craniofac J 1995 Mar;32(2):156-66.

Seo J, Kim S, Yang IH, Baek SH. Effect of secondary alveolar bone grafting on the maxillary growth: unilateral versus bilateral cleft lip and palate patients. J Craniofac Surg 2015;26(7):2128-32.

Levitt T, Long Jr RE, Trotman CA. Maxillary growth in patients with clefts following secondary alveolar bone grafting. Cleft Palate Craniofac J 1999;36(5):398-406.

Swennen GR, Grimaldi H, Berten JL, Kramer FJ, Dempf R, Schwestka-Polly R, et al. Reliability and validity of a modified lateral cephalometric analysis for evaluation of craniofacial morphology and growth in patients with clefts. J Craniofac Surg 2004;15(3):399-412.

Ahmed M, Shaikh A, Fida M. Diagnostic performance of various cephalometric parameters for the assessment of vertical growth pattern. Dental Press J Orthod 2016;21(4):41-9.

Plaza SP, Reimpell A, Silva J, Montoya D. Relationship between skeletal Class II and Class III malocclusions with vertical skeletal pattern. Dental Press J Orthod 2019;24(4):63-72.

De Rossi, Moara, Maria Bernadete Sasso Stuani, and Léa Assed Bezerra da Silva. Cephalometric evaluation of vertical and anteroposterior changes associated with the use of bonded rapid maxillary expansion appliance. Dental Press J Orthod 2010;15(3):62-70.

Leonard M, Walker GF. A cephalometric guide to the diagnosis of midface hypoplasia at the Le Fort II level. J Oral Surg 1977;35(1):21-4.

Daskalogiannakis J, Ross RB. Effect of alveolar bone grafting in the mixed dentition on maxillary growth in complete unilateral cleft lip and palate patients. Cleft Palate Craniofac J 1997;34(5):455-8.

Albert AM, Payne AL, Brady SM, Charissa Wrightet. Craniofacial changes in children-birth to late adolescence. ARC J Forensic Sci 2019;4(1):1-19.