Effects of Guidelines Discharge Planning on Diabetes Patients Using D-METHOD model at Khien-Sa Hospital
Main Article Content
Abstract
Abstract
การวิจัยเป็นแบบการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติในการวางแผนการจำหน่าย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ใช้รูปแบบ D-METHOD โรงพยาบาลเคียนซา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลเคียนซา อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566–มกราคม 2567 เครื่องมือที่ในการวิจัย คือ แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยใช้รูปแบบ D-METHOD เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพ เป็นแบบสอบถามเลือกตอบและเติมคำ 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยในการบริการที่ได้รับการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยใช้รูปแบบ D-METHOD และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของสหวิชาชีพในการใช้แนวปฏิบัติในการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยใช้รูปแบบ D-METHOD ผลการวิจัย พบว่า ความรู้โรคเบาหวานก่อนทดลองคะแนนค่าเฉลี่ย 11.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) 0.80 หลังทดลองค่าเฉลี่ย 14.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.12 ส่วนต่างระดับความรู้ค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น 3.48 คิดเป็นร้อยละ 100 ความพึงพอใจของผู้ป่วยในการบริการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ค่าเฉลี่ย 4.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 ความพึงพอใจของสหวิชาชีพ ค่าเฉลี่ย 4.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46 ผลลัพธ์ทางคลินิกในการลดอุบัติการณ์การกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่า ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนทดลองค่าเฉลี่ย 214.73 หลังทดลองค่าเฉลี่ย 146.83 ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 88.37 ระยะเวลาการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ก่อนการทดลองย้อนหลัง 3 ปี ค่าเฉลี่ย 3.45,4.22 และ 3.80 วัน หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ย 2.20 วัน และหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 28 วัน ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการใช้แนวปฏิบัติในการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยใช้รูปแบบ D-METHOD พบว่าไม่มีอุบัติการณ์การกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล(Re-Admit)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนิพนธ์ต้นฉบับจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review) และการตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
ลิขสิทธิ์
ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ เว้นว่าได้รับอนุญาตจากโรงพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ
เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
Jiraporn Udomkitpipat: Lecturer, Boromarajonani College of Nursing Surat Thani, Surat Thani Province.
E mail : jiraporn@bcnsurat.ac.th
phone: 0813066082