การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของชุมชนจังหวัดลพบุรี The self-health care development model of a community in Lopburi Province
Keywords:
การดูแลสุขภาพตนเองของชุมชน, การพัฒนา The self-health care of a community, DevelopmentAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลสุขภาพตนเองของชุมชน จังหวัดลพบุรี ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการศึกษาและสังเคราะห์ชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาจำนวน 4 ชุมชนของจังหวัดลพบุรี และนำมาพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของชุมชน จากนั้นนำไปปรับใช้กับชุมชนที่ต้องการพัฒนาที่หมู่ที่ 5 ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพตนเองของชุมชนตามแนวทางหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
ผลการวิจัยพบว่า1. องค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองของชุมชน จังหวัดลพบุรี ได้แก่1) คนในชุมชน 2) สิ่งแวดล้อมในชุมชน 3) วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา 4) กลวิธีหรือวิธีการพัฒนา 5) กระบวนการพัฒนาชุมชน 6) การสนับสนุนช่วยเหลือจากรัฐบาลและภาคเอกชน 7) การบริหารและการจัดการ 8) นักพัฒนาชุมชน2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองของชุมชน จังหวัดลพบุรี ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพ
ของอาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำชุมชน และเครือข่ายพัฒนาสุขภาพ 2) ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชน 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการสุขภาพของชุมชน3. แนวทางการพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองของชุมชน จังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย 1) การพัฒนาคน ได้แก่การอบรมอาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำชุมชนและเครือข่ายพัฒนาสขุ ภาพในการพฒั นาความรู้การวางแผนและการสร้างความตระหนักในการพัฒนา การศึกษาดูงานชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา 2) การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ได้แก่ การจัดทำแผนงาน/โครงการ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบชุมชน3) การจัดการสุขภาพของชุมชน ได้แก่ การจัดทำศูนย์ข้อมูลสุขภาพชุมชน การจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพและประเมินผลในชุมชนจากการนำแนวทางการพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองของชุมชน จังหวัดลพบุรี ไปปรับใช้ที่ชุมชนหมู่ที่ 5 ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ก่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลง คือ ผลการประเมินการดูแลสุขภาพตนเองของชุมชนผ่านเกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ระดับดีมาก (91.67%)
Abstract
The purpose of this study was to develop a model of self-health care of a community in Lopburi Province, Thailand. Materials and Methods: This study process was a participatory action research (PAR) which studied and synthesized the model in a 4 successful community in Lopburi Province and applied Moo 5, Tambon Bang Khan Mak, Mueang (en. wikipedia.org/w:k:/Lopburi_Province) district, Lopburi Province to solve health problem via the process of healthy management village of the
Department of Health Services Support, Thai Ministry of Public Health.
The results showed that; 1. Elements affecting the successful development of the self health care community included: 1) people in the community, 2) the environment in the community, 3) equipment associated with the
development, 4) strategies on how to develop the community, 5) process of community development, 6) supported from the government and the private sectors, 7) administration and management, 8) community developer.2. The development strategy of self-health care community; included: 1) the development strategy potential of health volunteers, community leaders and the others in a network of developed health care group, 2) strategic participatory research of the community and 3) the development strategy of management healthy of the community.
3. The development model of the self-health care community, Included: 1) Development, via the training of health volunteers, community leaders and networking to improve knowledge health, planning and develop participation, to study in successful community, 2) Development via participation including project planing with local governments organizations and public health center, 3) management of community health, including creating a data center of community health data health promotion and
activities and an evaluation of health care in the community.
The approach to the development model the self-health care community in Lopburi Province in Moo 5, Tambon Bang Khan Mak, Mueang district, Lopburi Province. The results of the evaluation found the development level to be very good (91.67%).
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.