การพัฒนาแนวทางลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของเยาวชนที่ครอบครัวบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : การสนทนากลุ่มโดยบิดา-มารดา The Development of Guideline for Reducing Alcohol Consumption among Thai Youth within Alcohol Drinking Family: Parents’ Focus Groups

Authors

  • ยุพา จิ๋วพัฒนกุล
  • อุบลวรรณา เรือนทองดี เรือนทองดี

Keywords:

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เยาวชน ครอบครัว สนทนากลุ่ม บิดา-มารดา Alcohol consumption, Youth, Family, Focus group, Parents

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทยที่อยู่ร่วมกับครอบครัวที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีดำเนินการวิจัย รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มบิดา-มารดา 3 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และจัดเวทีประชาคมเพื่อปรับแก้แนวทางลด

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน 2 ครั้ง จากชาวบ้าน 172 คน

ผลการวิจัย บิดา-มารดาเสนอแนวทางลดการดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนเมื่ออยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวที่ดื่มแอลกอฮอล์ไว้ 5 แนวทาง ได้แก่ 1. สมาชิกในครอบครัวควรเป็นต้นแบบให้เยาวชน 2. ฝึกทักษะการควบคุมตัวเองในการลดการดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชน 3. สร้างข้อตกลงภายในครอบครัว 4. ควรมีการสื่อสารเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์และ 5. เสริมสร้างความอยู่ดีมีสุขในครอบครัว สรุปและแนวทางที่ได้สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนที่มีประสิทธิภาพโดยใช้ครอบครัวเป็นฐานที่มีสหวิชาชีพ และผู้กำหนดนโยบาย

สามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปปรับใช้เพื่อช่วยลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน โดยควรมีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนที่มีประสิทธิภาพโดยเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัว

Abstract
Purpose: To develop guideline for reducing alcohol consumption among Thai youth with in
alcohol drinking family. Design: A qualitative research design. Method: Data were collected by
conducting three focus groups of 24 Thai parents, and analyzedusingcontent analysis. Then, two
communities meetings of 172 villagers were performed for revising the guideline. Main findings: Parents
suggest five themes for reducing alcohol consumption among Thai youth such as 1) Family should be
role models; 2) Trainingadolescent’s self-control skill; 3) Creating afamily commitment; 4)
Improvingalcohol-specific communication; and 5) Strengthening family well-being. Conclusions and
recommendations: The study finding guideline for reducing alcohol consumption among Thai youth
which can be applied to develop effective family based strategies. Moreover, the findings have
implications for multidisciplinary health care providers and policy makers seeking to reduce adolescents
drinking. The further research design should be developed efficacious interventions focused on family
members’ participations.

Downloads

How to Cite

1.
จิ๋วพัฒนกุล ย, เรือนทองดี อเ. การพัฒนาแนวทางลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของเยาวชนที่ครอบครัวบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : การสนทนากลุ่มโดยบิดา-มารดา The Development of Guideline for Reducing Alcohol Consumption among Thai Youth within Alcohol Drinking Family: Parents’ Focus Groups. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2013 May 17 [cited 2024 May 6];14(1):35-40. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/8721