ผลของการให้ความรู้และการสนับสนุนมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกและยาย ต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทการเป็นมารดา
Keywords:
มารดาวัยรุ่นครรภ์แรก, การให้ความรู้และการสนับสนุน, ความสำเร็จในการดำรงบทบาทการเป็นมารดา, Primiparous Adolescent Mothers, Providing knowledge and Support, Maternal Role AttainmentAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้และการสนับสนุนมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกและยายต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทการเป็นมารดาในระยะหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นหลังคลอดบุตรคนแรกที่พักรักษาตัว ณ หอผู้ป่วยสูติกรรมหลังคลอด โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีจำนวนมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกทั้งสิ้น 57 คน และยายของบุตรในกลุ่มทดลอง จำนวน 28 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติจากพยาบาลประจำหอผู้ป่วยส่วนกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับได้รับความรู้และการสนับสนุนมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกและยาย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความสำเร็จในการดำรงบทบาทการเป็นมารดา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสำเร็จในการดำรงบทบาทการเป็นมารดาภายหลังการทดลองเมื่อ 4 สัปดาห์ หลังคลอดระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยสถิติที (Independent t - test) ผลการวิจัยพบว่า มารดาวัยรุ่นในกลุ่มทดลองมีคะแนนความสำเร็จในการดำรงบทบาทการเป็นมารดาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ยายได้ให้การสนับสนุนมารดาวัยรุ่นทั้งด้านอารมณ์ การประเมินค่า ข้อมูลข่าวสารและทรัพยากรข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษา ควรมีการส่งเสริมให้มารดาวัยรุ่นและยายของบุตรได้รับความรู้และการสนับสนุน จะทำให้มารดาวัยรุ่นประสบความสำเร็จในการดำรงบทบาทการเป็นมารดาในระยะหลังคลอดได้
Effect of Providing Knowledge and Support Primiparous Adolescent Mother and Grandmother on Maternal Role Attainment
This study was based on a quasi - experimental research design and conducted with the objective of studying the effects of grandmother’s support on maternal role attainment success in postpartum primiparous adolescent mothers. The sample group comprised of 57 post - delivery primiparous adolescent mothers and 28 experimental group’s grandmothers of newborn undergoing treatment at the Obstetric Patient Ward of Phramongkutklao Hospital. The control group underwent routine nursing care from nurses, while the
experimental group received routine nursing care, provided knowledge and supported by organized grandmothers. Data was collected by using a demographic data form and a maternal role attainment success form. The mean maternal role attainment scores were compared at the 4th week postpartum, between the control and experimental groups by using Independent t - test. According to findings, the adolescent mothers in the experimental group had a higher maternal role attainment success score than the control group with a statistical significance (p<.05). Grandmothers supported the adolescent mothers in terms of emotion, value appraisal, information and instruments. Based on the findings, the researcher recommends nurses in the Postpartum Department provide knowledge and support postpartum maternal role attainment.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.