การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มการรู้คิด - พฤติกรรมเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะการบริการความงามผิวพรรณของพนักงานบริการ

Authors

  • ธนัชญา ประชาพร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Keywords:

รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มการรู้คิด - พฤติกรรม, สมรรถนะการบริการความงามผิวพรรณ, พนักงานบริการ, Cognitive - Behavior Counseling Model, Beauty Skin Service Competence, Service Employees

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มการรู้คิด - พฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการบริการความงามผิวพรรณของพนักงานบริการกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสมรรถนะการบริการความงามผิวพรรณเป็นพนักงานบริการในคลินิคบริการความงามผิวพรรณ จำนวน 223 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามเขตบริการจากประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเสริมสร้างสมรรถนะการบริการความงามผิวพรรณ เป็นพนักงานที่มีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการบริการความงามผิวพรรณตั้งแต่เปอร์เซนไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลองจำนวน 16 คน แล้วสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 8 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสังเกตสมรรถนะการบริการความงามผิวพรรณและ 2) รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มการรู้คิด - พฤติกรรม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการบริการความงามผิวพรรณผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยสมรรถนะการบริการความงามผิวพรรณของพนักงานบริการโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มการรู้คิด - พฤติกรรม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการบริการความงามผิวพรรณของพนักงานบริการ พัฒนาจากการประยุกต์แนวคิดและเทคนิคของทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มการรู้คิด - พฤติกรรม ส่วนรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มการรู้คิด - พฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการบริการความงามผิวพรรณของพนักงานบริการที่พัฒนาขึ้นสามารถเสริมสร้างสมรรถนะการบริการความงามผิวพรรณของพนักงานบริการได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อีกทั้งพนักงานบริการที่เข้าร่วมการทดลองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มการรู้คิด - พฤติกรรม

The Development of Cognitive - Behavior Counseling Model for Enhancing Beauty Skin Service Competence of Service Employees

The purpose of this research was to develop cognitive - behavior counseling model for enhancing beauty skin service competence of service employees.The sample of the beauty skin service competence study was 223 beauty skin service employees.Those were stratified selected from the population.The others sample group of the beauty skin service competence enhancement was 16 service employees whose beauty skin service competences were lower than twenty-fifthpercentile and volunteered to attend the experiment. They were then randomly assigned into two groups, classified as an experimental group and a control group. Each group consisted of 8 service employees. The research instruments were 1) a beauty skin service competence observation form and 2) the cognitive - behavioral group counseling model for the enhancement of beauty skin service competence. The results showed that the total mean score and each dimension score of the beauty skin service competence of the 223 service employees revealed high. The cognitive - behavioral group counseling model for enhancing beauty skin service competence was developed from the concepts and the techniques of cognitive - behavioral group counseling theory.Besides, the developed cognitive - behavioral group counseling model was effective in significantly enhancing the beauty skin service competence of service employees participated in the model at .01 level.The service employees who attended the model were satisfied with thecognitive - behavioral group counseling.


Downloads

How to Cite

1.
ประชาพร ธ, เกิดพิทักษ์ ผ, มาลากุล ณ อยุธยา ป. การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มการรู้คิด - พฤติกรรมเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะการบริการความงามผิวพรรณของพนักงานบริการ. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 Sep. 15 [cited 2024 Nov. 18];17(2):68-77. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/66814