ความคาดหวังของเยาวชนต่อครอบครัวในการป้องกันการสูบบุหรี่
Keywords:
ความคาดหวัง, เยาวชน, ครอบครัว, การป้องกัน, การสูบบุหรี่, Expectation, Youth, Family, Preventions, SmokingAbstract
การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน และสังเคราะห์ความคาดหวังของเยาวชนต่อครอบครัวในการป้องกันการสูบบุหรี่ แบบวัดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนถูกใช้ถามเยาวชน 257 คน และเยาวชน 24 คนถูกคัดเลือกแบบเจาะจงเพื่อเข้าร่วมการสนทนากลุ่ม (12 คนต่อกลุ่ม ๆ ละ 1 ครั้ง) และถูกถามด้วยคำถามปลายเปิดหลังจากนั้นได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่ออธิบายความคาดหวังของเยาวชนต่อครอบครัวในการป้องกันการสูบบุหรี่ผลการวิจัยพบว่า เยาวชน 228 คนไม่เคยสูบบุหรี่ ส่วนเยาวชน 29 คนที่สูบบุหรี่ มีการสูบบุหรี่ทุกวัน (ร้อยละ 72.5)ซึ่งเยาวชนส่วนใหญ่สูบบุหรี่น้อยกว่า 1 ซอง/วัน (ร้อยละ 89.6) ผลจากการสนทนากลุ่ม เยาวชนมี 4 ความคาดหวังต่อครอบครัวในการป้องกันการสูบบุหรี่ ซึ่งประกอบด้วย การเฝ้าระวังจากครอบครัว การเป็นแบบอย่างของครอบครัว การสร้างครอบครัวอบอุ่นและการส่งเสริมการออกกำลังกายในครอบครัวผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับผู้ให้บริการสุขภาพสาขาต่าง ๆ และผู้กำหนดนโยบายในการป้องกันการสูบบุหรี่ในเยาวชน การวิจัยครั้งต่อไปจึงควรดำเนินการโดยเน้นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการป้องกันการสูบบุหรี่ในเยาวชน
Youth’s Expectation for Family Smoking Preventions
The purposes of this Mix Method study were to survey youth’s smoking behaviors and to synthesis the youth’s expectation for family smoking prevention. The youth’s smoking behavior questionnaire was supplied to 257 youths. Purposive sampling was used to recruit a sample of 24 youth representatives for focus groups (12 youths per group for 1 time). The youth representatives were asked by the open - ended questions. Then, the quantitative data were analyzed by using descriptive statistics. The qualitative data were performed by using the content analysis to describe youth’s expectation for family smoking preventions. The findings revealed that 228 youths never smoke. For 29 smokers, they smoke everyday (72.5%). The majority of participants smoked less than one pack per day (89.6%). For focus group findings,youths had 4 expectations for family smoking preventions: family monitor, family role model, building warm family, and promoting exercise in family. The findings have implications for multidisciplinary health care providers, and policy makers seeking to prevent youth’s smoking. Further research design should be developed with interventions focused on strengthening family participations for youth’s smoking prevention.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.