โครงการ “กล่องของขวัญวันเกิด” : ผลของการมีส่วนร่วมโครงการต่อความตั้งใจและพฤติกรรมของบิดามารดา ในการสื่อสารเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศกับบุตร

Authors

  • รุจา ภู่ไพบูลย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภาวนา พรหมเนรมิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กุลธิดา หัตถกิจพาณิชกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

บิดามารดา, การสื่อสาร, ละเว้นการมีเพศสัมพันธ์, วัยเรียน, โปรแกรม, การวางแผนพฤติกรรม, กล่องของขวัญวันเกิด, parent, communication, sexual abstinent, school age, program, planned behavior, birthday box

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศโดยใช้สื่อ “กล่องของขวัญวันเกิด” ต่อความตั้งใจของบิดามารดาในการสื่อสารและพฤติกรรมการสื่อสารเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศในวัยเรียน เก็บข้อมูลบิดามารดาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ร่วมโครงการ จำนวน 151 คน แบ่งกลุ่มตามกลุ่มของบุตร เป็นกลุ่มควบคุม 65 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 86 คน จากโรงเรียน 3 แห่ง โปรแกรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียนตามทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรมของเอเซนผ่านกระบวนการสอนเน้นกิจกรรมกลุ่ม และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งข้อความอวยพรในบัตรวันเกิด จากการประเมินผลกระทบต่อบิดามารดาเกี่ยวกับพฤติกรรมและความตั้งใจในการสื่อสารเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศกับบุตรโดยเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมและความตั้งใจของบิดามารดาในการสื่อสารเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศในวัยเรียนก่อนและหลังทดลองโดยทดสอบสถิติ Pair t - test พบว่ามีคะแนนเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05; p<.005 ตามลำดับ) ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.05) ผลการศึกษาแสดงผลกระทบทางบวกของโครงการฯ ต่อบิดามารดาและผู้วิจัยเสนอให้มีการศึกษาระยะยาว ผลกระทบของการมีส่วนร่วมโครงการต่อความตั้งใจและพฤติกรรมของบิดามารดา ในการสื่อสารเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศกับบุตรเพื่อป้องกันปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน

The Birthday Box Project : Effects of Parental Participatory Program on Parental Sexual Communication Intention and Sexual Communication Behavior to Their Children

This quasi - experimental study aimed to examine the impacts of parent participation in “The Birthday Box” project on their intention and behavior on sexual communication to their children. Data was collected among parents of 6th grade students from 3 schools. Total number of parents was 151 who 65 were in the control group and 86 were in the experimental group, according to their children grouping. The sexual risk reduction program based on the Theory of Planned Behavior by Ajzen, consisted of participatory learning activities as in groups and included parents participation in writing Birthday Cards for their children. The results from comparing parent’s sexual communication behavior and their intention to communicate before and after the program, using Pair t - test, showed a significant increase (p<.05 and p<.005 accordingly) in the experimental group. However, no change was found in the control group (p>.05). Thus, the result demonstrates a positive effects of the program on parents. The researchers suggest further cohort study on the impacts of parent participation on their sexual communication intention and sexual communication behavior.

Downloads

How to Cite

1.
ภู่ไพบูลย์ ร, พรหมเนรมิต ภ, หัตถกิจพาณิชกุล ก. โครงการ “กล่องของขวัญวันเกิด” : ผลของการมีส่วนร่วมโครงการต่อความตั้งใจและพฤติกรรมของบิดามารดา ในการสื่อสารเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศกับบุตร. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 Sep. 15 [cited 2024 Nov. 18];17(2):12-20. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/66796