ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มวัยและสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงาน กับความสุขในการทำงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ; The Relationships between Generations, Magnetic Work Environment, and Working Happiness as perceived by Professional Nurses
Keywords:
ความสุขในการทำงาน, สภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงาน, กลุ่มวัย, พยาบาลวิชาชีพ, Working happiness, Magnetic work environment, Generations, Professional nursesAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ระหว่างกลุ่มวัยเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวาย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มวัย สภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงาน กับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ และ 3) วิเคราะห์อำนาจในการทำนายของกลุ่มวัยและสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจ ในการทำงานที่มีต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลประจำการกลุ่มวัยเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวาย ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลกรุงเทพอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 176 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงาน และแบบวัดความสุขในการทำงาน ที่มีค่า สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.92 ทั้ง 2 แบบวัด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ แบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า (1) พยาบาลวิชาชีพที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย มีความสุขในการทำงานสูงกว่า กลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ (2) กลุ่มวัย และสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานของ พยาบาลวิชาชีพ และ (3) สภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงาน สามารถทำนายความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพได้ ร้อยละ 8.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract The purposes of this descriptive study were as follows : 1) To compare working happiness of professional nurses between Generation X and Generation Y, 2) To study relationships between generations, magnetic work environment, and working happiness, and 3) To examine the predictive power of generations and the magnetic work environment on working happiness of professional nurses. The sample included 176 professional nurses who had worked at Bangkok Hospital for at least one year, and they were divided into two groups : Generation X and Generation Y. The stratified random sampling technique was employed. Two sets of questionnaires, covering magnetic work environment and working happiness, were used as research tools. Both of the magnetic work environment and working happiness had the Cronbach’s alpha coefficients were 0.92. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, independent t - test, chi - square test, Pearson product moment correlation, and stepwise multiple regression. The major findings were as follows. (1) Generation Y professional nurses rated their working happiness significantly higher than those in Generation X. (2) There were positive correlations between generations, magnetic work environment, and working happiness of professional nurses. Finally, (3) Magnetic work environment predicted working happiness and this predictor accounted for 8.6% (R2 = .086, p < .05).
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.