ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ในการเยี่ยมบ้านให้ความรู้ผู้เป็นเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน อย่างต่อเนื่องต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานในชุมชน

Authors

  • รักชนก คชไกร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
  • เวหา เกษมสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
  • จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ นครนายก

Keywords:

การพัฒนาศักยภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุข, การเยี่ยมบ้าน, ผู้เป็นเบาหวาน, The ability improvement, Health volunteer, Home visit, People with diabetes

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ในการเยี่ยมบ้านให้ความรู้ผู้เป็นเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องในชุมชนเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 11 คน และผู้เป็นเบาหวานจำนวน 35 คน ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ได้แก่ การจัดอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข 3 ครั้ง และให้อาสาสมัครสาธารณสุขเยี่ยมบ้านผู้เป็นเบาหวานคนละ 3 - 4 ราย เป็นเวลา 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 เดือน ทำการวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดผู้เป็นเบาหวานก่อนและหลังได้รับการเยี่ยมบ้าน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวาน โดยใช้สถิติ Paired T - test

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เป็นเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนได้รับเยี่ยมบ้านอยู่ในระดับปกติ และกลุ่มผู้เป็น เบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนได้รับเยี่ยมบ้านสูงกว่าระดับปกติ มีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดไม่ต่างกัน (t = .156, df = 33, P = .877) แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวาน จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครฯ เป็นระยะ ๆ มีคู่มือในการทบทวน และมีกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การศึกษา ดูงาน สนับสนุนอุปกรณ์การดูแลสุขภาพผู้เป็นโรคเบาหวานให้ครบถ้วน การสร้างกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อสนับสนุนให้อาสาสมัคร ได้นำความรู้และทักษะมาปฏิบัติงานในการเยี่ยมบ้านผู้เป็นเบาหวาน

 

The outcomes of program for improvement of Health Volunteer’s Ability in Educational Home Visit for Diabetes People without Complication in Communities

The objective of Quasi - experiment research method was to study the result of the health volunteer ability improvement in continuity educational home visit for people with non - complication diabetes in communities. Samples included 11 health volunteers and 35 people with diabetes. The ability improvement program was continuing arranged to health volunteer 3 times, and then health volunteer visited 3 - 4 people with diabetes at home 3 times, every month. Fasting Blood Sugar were recorded before and after the visiting and were analyzed by Paired T - test.

The findings revealed the mean of fasting blood sugar level of people with diabetes before and after educational home visit of health volunteer was not difference (t = -0.067, df 34, P = .947). The mean of fasting blood sugar level between control and uncontrolled people with diabetes after educational home visit of health volunteer was not difference (t = .156, df = 33, P = .877). Educational home visit of health volunteer for three months did not result to fasting blood sugar level of people with diabetes, thus we should provide more educational home visit by health volunteer for example group support, peer coaches and handbook in order to change behaviors of people with diabetes

Downloads

How to Cite

1.
คชไกร ร, เกษมสุข เ, ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์ จ. ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ในการเยี่ยมบ้านให้ความรู้ผู้เป็นเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน อย่างต่อเนื่องต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานในชุมชน. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 May 25 [cited 2024 Nov. 24];17(1):141-7. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/57572