การพัฒนาแนวปฏิบัติในการจัดการกับภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนในผู้สูงอายุ; The development of guidelines for the management of overweight and obesity in the elderly

Authors

  • ภาวดี วิมลพันธุ์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
  • ขนิษฐา พิศฉลาด สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

Keywords:

การพัฒนา, แนวปฏิบัติ, ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน, ผู้สูงอายุ, development, guidelines, overweight and obesity, the elderly

Abstract

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวปฏิบัติในการจัดการกับภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักเกินและอ้วน มีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลนครเชียงราย ในปี 2558 คัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 1) กลุ่มสนทนาเพื่อค้นหาปัญหาและประเมินสถานการณ์ 40 คน 2) กลุ่มการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อจัดทำแนวปฏิบัติ 10 คน 3) กลุ่มทดลองนำร่องใช้แนวปฏิบัติ 6 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่ทดลองนำร่องใช้แนวปฏิบัติ คัดเลือกแบบเจาะจง จากพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แนวคำถามในการเข้ากลุ่ม 2) แบบสอบถามความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของผู้สูงอายุ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้ แนวการปฏิบัติของบุคลากรที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการหาความตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน แล้วทดสอบความเที่ยง แบบสอบถามความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของผู้สูงอายุ มีค่า CVI 0.98 และค่า Chronbach’s coefficient เท่ากับ 0.85 ส่วนแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้แนวการปฏิบัติของบุคลากรมีค่า CVI เท่ากับ 0.95 และค่า Chronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.9 4) เครื่องมือตรวจร่างกาย ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก และที่วัดส่วนสูง ซึ่งผ่านการสอบเทียบ วิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างในการทดลองนำร่องใช้แนวปฏิบัติโดยค่าเฉลี่ยและร้อยละ

ผลการวิจัย ได้แนวปฏิบัติในการจัดการกับภาวะอ้วนและน้ำหนักเกินในผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วย การออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเวชปฏิบัติก่อนออกกำลังกาย ในรายที่มีโรคประจำตัว หรือเมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติหลังออกกำลังกาย

แนวปฏิบัตินี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการทดลองหรือขยายผลการใช้ในผู้สูงอายุที่มีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกินในชุมชน อื่นในเขตเทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

This research and development study aimed to establish the overweight and obesity management guideline among the elderly. The samples were the elderly with overweight and obesity lived in Chiangrai municipality in 2015. The elderly who met the selection criteria were purposively selected and divided into three groups included forty subjects in focus groups, ten subjects in the participatory learning group, and six subjects in the pilot study. Furthermore, two nurses were included as the sample that was in the pilot study. The research instruments were 1) the questions used for focus groups and participatory learning group 2) the feasibility of the guidelines assessment form for the elderly, the CVI was 0.98 and the Chronbach’s alpha coefficient was 0.85 3) the feasibility of the guidelines assessment form for the nurses, the CVI was 0.95 and the Chronbach’s alpha coefficient was 0.9 and 4) the calibrated weighing apparatus and the meter height. Frequency and percentage were used for data analysis.

The results revealed that the guidelines for the management of overweight and obesity in the elderly were exercise, changing of health behavior pattern, and the physicians or nurse practitioners’ consultation for the vulnerable ones.

The study indicated that the guidelines can be a tool for an experimental study and it should be applied for the overweight and obese elderly who living in Chiangrai municipality.

Downloads

How to Cite

1.
วิมลพันธุ์ ภ, พิศฉลาด ข. การพัฒนาแนวปฏิบัติในการจัดการกับภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนในผู้สูงอายุ; The development of guidelines for the management of overweight and obesity in the elderly. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 May 25 [cited 2024 Nov. 24];17(1):115-23. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/57565