สมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลตามความคาดหวังและการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี; Nurse Supervisiors’s Competencies as Expected and Perceived by Professional Nurses in The HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn
Keywords:
สมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาล, ความคาดหวังของพยาบาลวิชาชีพ, การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ, the expections, the perception, the competency, and nurse supervisorsAbstract
การวิจัยเชิงพรรณนาความสัมพันธ์และเปรียบเทียบนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลตาม ความคาดหวังและการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สุ่มตัวอย่างพยาบาล วิชาชีพโดยใช้วิธีแบบแบ่งชั้นภูมิจำนวน 180 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาล ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยโดยหาค่าแอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน, การทดสอบค่าที และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลวิชาชีพในกลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 29.44 ปี (SD = 4.23) มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 97.8 ประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 7.28 ปี (SD = 4.148) สมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลตามความคาดหวังและการรับรู้ ของพยาบาลวิชาชีพ อยู่ในระดับสูง ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 (SD = .62) และ 3.56 (SD = .41) โดยมีค่าความคาดหวังสูงกว่า การรับรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 13.55, p-value < .05) สมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลตามความคาดหวัง กับการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ มีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.25, p < .05) เมื่อจำแนกพยาบาลวิชาชีพตามอายุ พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีความคาดหวังต่อสมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลไม่แตกต่างกันแต่ มีการรับรู้ต่อสมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 4.99, p-value <. 05) โดยพยาบาลวิชาชีพที่มีอายุมากกว่า 31 ปีขึ้นไป รับรู้ต่อสมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลดีกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีอายุ 26 - 30 ปี พยาบาลวิชาชีพที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังและมีการรับรู้ต่อสมรรถนะของผู้ตรวจ การพยาบาลไม่แตกต่างกัน ผลจากการศึกษานี้เสนอแนะว่า ผู้บริหารการพยาบาลควรมีการพัฒนาสมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาล เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มคุณภาพทางการพยาบาล
The purposes of this descriptive comparative correlational research were to study nurse supervisors’s competencies as expected and perceived by professional nurses in HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn medical center. Data were collected from 180 nurses selected using the stratified random sampling, the research tool was an opinionnaire that consisted of two parts : demographic data, nurse supervisors’s competencies as expected and perceived. The Cronbach’s alpha coefficients of the opinionnaire nurse supervisors’s competencies was 0.99. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, t - test, and One - way Analysis of variance.
Results showed : Most of the nurses were average age of 29.44 years (SD = 4.23), bachelor’s degree (97.8%) and period of working was average 7.28 years. (SD = 4.148) The level of expectation and percieved of nurses were at a high level (M = 4.22, SD = .62; M = 3.56, SD = .41). The nurses’ expectation score was significantly higher than nurses’ perception t = 13.55, p < .01). The nurses’ expectations was significantly correlated with their perceptions (r = .25, p < .01). Comparison of age on the nurses’ expectation was not significantly different at the level of 0.05 but nurses’ perception was significiantly different at the level of 0.05 (F = 4.99, p-value < .05), nurses age 31 years and over were good expectation than nurses who had 26 - 30 years. Education level and period of working were not significiantly difference between the expections and perceptions of nurse towards the competency’ nurse supervisor. The results suggest that nursing Administration should improve the competency’ nurse supervisor for more effective nursing quality.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.