รูปแบบการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจ ในโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่มีศักยภาพสูง; Model of Knowledge Management for Cardiac Nursing in the High Competence Public and Private Hospitals

Authors

  • เพ็ญจันทร์ แสนประสาน มหาวิทยาลัยชินวัตร, ปทุมธานี 12160
  • ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา มหาวิทยาลัยชินวัตร, ปทุมธานี 12160
  • วรเดช จันทรศร มหาวิทยาลัยชินวัตร, ปทุมธานี 12160

Keywords:

การจัดรูปแบบการเรียนรู้, การพยาบาลโรคหัวใจ, โรงพยาบาลรัฐและเอกชนศักยภาพสูง, รูปแบบการจัดการความรู้, Cardiac Nursing Care, High Competence Private and Public Hospital Knowledge Management, Model of Knowledge Management

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประเภทพัฒนาการ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการความรู้ สร้าง และยืนยันรูปแบบการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจในโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่มีศักยภาพสูง; ทำการศึกษาพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจในโรงพยาบาล ในการวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 38 คน การวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 629 คน และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.84 และประเมินค่าเมินค่า IOC ในทุกข้อคำถามให้ผ่านเกณฑ์วิเคราะห์ความเชื่อถือและองค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมสมการโครงสร้าง SEM เพื่อยืนยันสมมติฐาน

ผลจากการศึกษาครั้งนี้ จากการวิจัยคุณภาพ พบว่าสภาพการณ์ ปัญหาและความต้องการและรูปแบบ พบว่า การจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจทั้งภาครัฐและเอกชนไม่แตกต่างกัน ทุกด้านมีข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย คือ ด้านเอกชนมีการใช้เทคโนโลยีมากกว่าบางโรงพยาบาล ภาครัฐมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีมระหว่างสหสาขาวิชาชีพมากกว่า ส่วนการยืนยันรูปแบบการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ด้านยุทธศาสตร์การบริหารจัดการความรู้ คือผู้บริหารและเทคโนโลยีมีผลต่อกระบวนการจัดการความรู้ด้านโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานการจัดการความรู้ คือการมีส่วนร่วม และการเสริมพลังในการจัดการความรู้ มีผลต่อกระบวนการจัดการความรู้ ด้านกระบวนการจัดการความรู้ คือการนำความรู้ไปใช้และติดตามผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีผลต่อผลลัพธ์ในการจัดการความรู้ ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ คือการบริหารองค์กร มีผลต่อผลลัพธ์จัดการความรู้ โครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานการจัดการความรู้ ไม่มีผลต่อผลลัพธ์การจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจในด้านใดด้านหนึ่ง

 

This descriptive study had combined qualitative and quantitative methods. The objectives were; 1) to explore the current situations as well as problems and needs of knowledge management for cardiac nursing, from the high potential governmental and private hospitals, 2) to develop and confirm a model of Knowledge Management for Cardiac Nursing in High Potential Governmental and Private Hospitals. The sample of 38 nurses for the qualitative method, and 629 nurses for the quantitative method. The two measurements were, semi - structure interview guide of 5 items and 118 items of questionnaire. The confirm factor analysis revealed the research variables congruence with the theoretical model. Coefficient of Variation, Skewness and Kurtosis was used. Pearson Correlation Coefficient and Structural equation modeling were analyzed to assess the correspondence between the developed theoretical model and the empirical data. The results of the Confirmatory Factor Analysis. The factors had direct influence on the effects of knowledge management in private, public hospitals included Strategy management (organization), and process of knowledge management (share, apply and follow up) at 0.5.level of significance. Qualitative results the effects of knowledge management in both public and private hospitals were consistent across all dimensions and suggest systems and mechanisms included Strategy management, Structure and process of knowledge management.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
แสนประสาน เ, บัญชาพัฒนศักดา ช, จันทรศร ว. รูปแบบการจัดการความรู้การพยาบาลโรคหัวใจ ในโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่มีศักยภาพสูง; Model of Knowledge Management for Cardiac Nursing in the High Competence Public and Private Hospitals. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 May 25 [cited 2025 Jan. 16];17(1):36-44. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/57543