ประสิทธิผลชุดการเรียนรายวิชาการผดุงครรภ์ 1; The Effectiveness of Instructional Package on the Midwifery 1 Subject

Authors

  • มาลีวัล เลิศสาครศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ
  • แก้วตะวัน ศิริลักขณานันท์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ

Keywords:

ชุดการเรียนรู้, วิชาการผดุงครรภ์ 1, นักศึกษาพยาบาล, Instructional package, Midwifery 1 subject, Nursing students

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิด 2 กลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เพื่อสร้างและพัฒนาชุดการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการผดุงครรภ์ 1 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อการเรียนวิชาการผดุงครรภ์ 1 และความมั่นใจต่อการปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ในห้องปฏิบัติการพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 118 คน วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการผดุงครรภ์ 1 ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2557 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 59 คน ด้วยวิธีการจับคู่คะแนนเฉลี่ยสะสม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ ชุดการเรียนรู้วิชาการผดุงครรภ์ 1 ประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาการผดุงครรภ์ 1 แบบประเมินความมั่นใจต่อการปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ในห้องปฏิบัติการพยาบาลและแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดการเรียนรู้ ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาและประสิทธิภาพของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .816, .939 และ .947 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (\dpi{100} \bar{X} = 57.20) คะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการเรียนวิชาการผดุงครรภ์ 1 (\dpi{100} \bar{X} = 4.08) และคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจต่อการปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ในห้องปฏิบัติการพยาบาล (\dpi{100} \bar{X} = 3.70) สูงกว่ากลุ่มที่เรียนในชั้นเรียนตามปกติ ( \dpi{100} \bar{X} = 54.36, 3.94, และ 3.46 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงสรุปได้ว่าการใช้ชุดการเรียนรายวิชาผดุงครรภ์ 1 ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนเป็นอย่างมาก สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ สามารถทบทวนขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ทำให้เกิดเจตคติที่ดี เกิดความมั่นใจในการฝึกปฏิบัติเพิ่มมากขึ้นมีความพึงพอใจในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

This research was a quasi-experiment with pretest-posttest two groups design. The purpose of this research was to develop a instructional package on the Midwifery 1 and compare learning achievement, attitude towards Midwifery 1 subject, and self - confidence for practicing of maternal - newborn and midwifery in the nursing laboratory. The sample included 118 second year nursing students, who registered in the Midwifery 1 subject in the second trimester of the academic year 2014 at Saint Louis College. The sample was separated into two groups (experimental group and control group) by matched paired from the average score. The research tool in the experiment was a instructional package composed of computer assisted instruction: CAI and E-book, questionnaire including personal data, learning achievement test, attitude towards Midwifery 1 test, self-confidence for practicing of maternal-newborn and midwifery in the nursing laboratory, and satisfaction to a instructional package. The questionnaire was validated and found the efficiency by a group of 3 experts. The reliability were .816, .939 and .947, respectively. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and t - test.

The results indicated that the second year nursing students in the experimental group had average scores of learning achievement, attitude towards Midwifery 1 subject, and self - confidence for practicing of maternal-newborn and midwifery in the nursing laboratory were in the high level after participating in the activity of meditation and mindfulness. The average scores were statistically higher than average scores in the control group (\dpi{100} \bar{X} = 54.36, 3.94, and 3.46, respectively) at p < .05. The findings conclude that the instructional package was very useful for students to use in learning unlimited in time, place and could review all the process from the beginning until the end. It made the good attitude to learn, had the confidence to practice and satisfaction.

Downloads

How to Cite

1.
เลิศสาครศิริ ม, ศิริลักขณานันท์ แ. ประสิทธิผลชุดการเรียนรายวิชาการผดุงครรภ์ 1; The Effectiveness of Instructional Package on the Midwifery 1 Subject. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 May 25 [cited 2024 Mar. 29];17(1):26-35. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/57542