ประสิทธิผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้จากการถอดบทเรียน หลังการปฏิบัติในการฝึกปฏิบัติงานวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน; Effectiveness of Learning Process Based on After Action Review on Community Health Nursing Practice
Keywords:
ประสิทธิผล, การใช้กระบวนการเรียนรู้จากการถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติ, การฝึกปฏิบัติงานวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน, Effectiveness, After Action Review (AAR), Community Health Nursing PracticeAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้จากการถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติในการฝึกปฏิบัติงานวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน ส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติงานตามกระบวนการพยาบาลในการฝึกปฏิบัติงานการวินิจฉัยชุมชน การดูแลสุขภาพที่บ้านและงานอนามัยโรงเรียนของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 96 คน และใช้เกณฑ์จับคู่ (matched pair) แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับกระบวนการฝึกปฏิบัติงานตามปกติและกลุ่มทดลองที่ได้รับการใช้กระบวนการเรียนรู้จากการถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติ (After Action Review : AAR) กลุ่มละ 48 คน ดำเนินการศึกษา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กระบวนการเรียนรู้จากการถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติในการฝึกปฏิบัติงานวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานตามกระบวนการพยาบาลของนักศึกษาและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการฝึกปฏิบัติงานอนามัยชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติงานตามกระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติงานการวินิจฉัยชุมชน การดูแลสุขภาพที่บ้านและงานอนามัยโรงเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการฝึกปฏิบัติงานอนามัยชุมชนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05The purposes of this quasi - experimental study were to examine the effectiveness of learning process based on After Action Review: AAR supporting the ability to work according to nursing process of nursing students, applied in community diagnosis, home health care and school health practices. The purposive sample of 96 the fourth year nursing students of Kuakarun Faculty of Nursing Navamindradhiraj University. They were randomly assigned into both the experimental group and the control group along with matched pair design with 48 students in each group. The control group received regular learning and practice, while the experimental group received learning process based on AAR. The duration of process based on AAR was implemented 8 weeks. The instrument for data collection was the ability to work according nursing process and the satisfaction questionnaire of students toward community nursing practice. The data were analyzed using independent t - test. The result showed that the experimental group had significantly higher than score of the ability to work according to nursing process into community diagnosis, home health care and school health than the control group at .05 level and the experimental group had significantly higher mean score of satisfaction than the control group at .05 level.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.