อาการปวดหลังส่วนล่างในเกษตรกรชาวนากับบทบาทของพยาบาลชุมชน; Low back pain in rice farmers with the role of community health nurses
Keywords:
อาการปวดหลังส่วนล่าง, เกษตรกรชาวนา, บทบาทพยาบาลชุมชน, low back pain, rice farmers, role of community health nursesAbstract
อาการปวดหลังส่วนล่างในเกษตรกรชาวนาเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ซึ่งเกิดจากกระบวนการทำนา เกษตรชาวนามีโอกาสสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานและสภาพการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัมผัสปัจจัยด้านการยศาสตร์ ได้แก่ ท่าทางการทำงานที่ผิดปกติหรือฝืนธรรมชาติ การทำงานที่ซ้ำ ๆ และการทำงานที่ทำให้กล้ามเนื้อออกแรงมากเกินความสามารถในการรับน้ำหนัก ส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอาการปวดหลังส่วนล่างซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรัง ทำให้รัฐบาลจะต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการรักษา ดังนั้นพยาบาลชุมชนควรมีส่วนในการป้องกันและฟื้นฟูอาการปวดหลังส่วนล่างในเกษตรกรชาวนา โดยมีบทบาทเป็นทั้งผู้ประสานงาน ผู้ให้ความรู้ ผู้ให้คำปรึกษา ผู้ช่วยเหลือผู้สนับสนุน ผู้แนะนำแหล่งประโยชน์ ผู้เอื้ออำนวยความสะดวก ผู้สนับสนุนความสามารถและผู้วิจัย ซึ่งมีวิธีการที่เน้นทั้งปัจจัยภายในและภายนอก โดยปัจจัยภายใน ได้แก่ การส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับท่าทางในการทำงานที่ถูกต้อง การแนะนำและสาธิตการบริหารกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง เน้นวิธีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง รวมทั้งการนั่งสมาธิก็สามารถช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ ส่วนปัจจัยภายนอก เน้นกลุ่มเพื่อนหรือกลุ่มเกษตรกรชาวนา โดยมีการจัดตั้งกลุ่มดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นแกนนำที่ปฏิบัติตามคำแนะนำแล้วสามารถป้องกันหรือลดอาการปวดหลังส่วนล่างจากการทำงานได้ มาเป็นบุคคลตัวอย่างและให้คำแนะนำในกลุ่มเกษตรกรชาวนานอกจากนี้พยาบาลชุมชนต้องใช้หลักยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่โดย 1. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล 2. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อสุขภาพ 3. การเสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง 4. การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพและ 5. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ที่ช่วยให้เกษตรกรชาวนาสามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน มีการจัดการปัญหาอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพต่อไป
Low back pain in rice farmers is a major health problem that arises from the working process. The farmers exposed to hazard from working conditions and working enviroment especially, ergonomics hazard i.e. abnormal posture or unnatural working condition, the repetitive work procedure and heavy work to abnormal posture, excessive muscle exertion and damaging the musculoskeletal system especially the low back. It’s chronic problem and the government has to shoulder the burden of treatment expenses. It should be community nurse roles to prevent and rehabilitate. The nurse has the role of facilitator, knowledge, care giver, assistance, supporter and researcher. There are internal and external factors. The internal factors are to promote perceived self - efficacy for self - care, to provide knowledge about the correct working posture, introduction and demonstration of the correct exercise of back muscle and focus on stretching to make it stronger. Also, meditation can help relieve low back pain. The external factors focus on friends or farmer group that have experienced the correct instructions and received good result. They will be role model and can guide the farmer group. In addition, community nurses must use new strategy for health promotion by 1. The development of personal skills 2. To create an environment that is conducive to health 3. Strengthen the activities of the community 4. Modify the healthcare system and 5. The creation of healthy public policy. They will assist the farmers to take care of themselves and be sustainable. Low back pain problem can be managed systemically and efficiently
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.