สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3
Keywords:
สภาพ, ปัญหา, แนวทางการพัฒนา, การจัดการเรียนการสอนภาษาจีน, Situations, Problems, Guided Development of Teaching, and Learning of Chinese Language, High Schools Education in Nonthaburi Province, Secondary Educational Service Area Office 3Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพ ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีน จำแนกตามสัญชาติของครูผู้สอน ประสบการณ์ทำงาน ระดับการจัดการศึกษาและขนาดของโรงเรียน รวมทั้งศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียน การสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาภาษาจีนจำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ คะแนนเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA โดยทดสอบรายคู่ด้วยวิธี Sheffe’s test การทดสอบค่าที (t-test) การหาความถี่ การหาน้ำหนักคะแนน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อยยกเว้นด้านหลักสูตรอยู่ในระดับปานกลาง 3) เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีน จำแนกตามสัญชาติของครูผู้สอน และระดับการจัดการศึกษาโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามประสบการณ์ ทำงานของครูผู้สอนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ควรบูรณาการหลักสูตรภาษาจีนให้สอดคล้องกับบริบทโรงเรียนและท้องถิ่น 2) ควรจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความแตกต่างของผู้เรียน 3) ควรส่งเสริมให้ใช้สื่อการสอนที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และ 4) ควรให้ครูมีการศึกษาและวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล
The purposes of this research were to study and compare the situation and problems in teaching and learning of Chinese by nationality of teachers, working experience, level of education, and the school size and to study Chinese teaching and learning of secondary schools of Nonthaburi province under the Secondary Educational Service Area Office 3. The samples consisted of 92 Chinese teachers and the research instruments used for the study were rating - scale questionnaires and interviews. The Statistics used for data analysis included Mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, frequency, point weighting and content analysis. The findings were as follows : 1. The situations of Chinese teaching and learning of secondary schools of Nonthaburi province under the Secondary Education Service Area Office 3 as a whole and each aspecst were at a high level. 2. The problems of Chinese teaching and learning of secondary schools of Nonthaburi province under the Secondary Education Service Area Office 3 as a whole and each aspects were at a low level. 3. Comparing of situations and, problems of Chinese teaching and learning of secondary schools of
Nonthaburi province under the Secondary Education Service Area Office 3 by nationality of teacher. And levels of education overall, and the difference is not statistically significant. The experience of teachers, the difference was statistically significant at the .05 level. And Compare schools size the difference was statistically significant at the .05 level. 4. Guidelines for Development of Teaching and learning of secondary schools of Nonthaburi province under the Secondary Education Service Area Office 3 were as follows 1) Chinese curriculum should be integrated as the context of the schools and local area and teachers should be encouraged to create a learning environment for the students to facilitate new knowledge. 2) Teaching and learning management should meet different needs and learning styles of students 3) Teachers should be encouraged to use creative medias and variety of teaching materials to enhance learning and 4) Quality of measurement and evaluation tools should be studied and analyzed.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.