ผลของโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและทักษะในการจัดโครงการเตรียมพร้อมรับอุทกภัยของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

Authors

  • อังศณา คล้ายสุข ิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย, กรุงเทพ
  • เครือวัลย์ ศรียารัตน

Keywords:

โปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถ, การจัดโครงการเตรียมพร้อมรับอุทกภัย, นักศึกษาระดับอุดมศึกษา, Self - efficacy enhancement program, Flood preparedness project management, Undergraduate students

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน และหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะในการจัดโครงการเตรียมพร้อมรับอุทกภัยก่อน และหลังเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดโครงการเตรียมพร้อมรับอุทกภัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาจำนวน 33 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถในการจัดโครงการเตรียมพร้อมรับอุทกภัยที่พัฒนาโดยผู้วิจัย ตามทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถในการจัดโครงการเตรียมพร้อมรับอุทกภัย และค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะในการจัดโครงการเตรียมพร้อมรับอุทกภัยของกลุ่มตัวอย่างภายหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 และ 0.05 ตามลำดับ ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะควรนำาโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถในการจัดโครงการเตรียมพร้อมรับอุทกภัยไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถ และทักษะในการจัดโครงการอื่น ๆ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน

This study was a one group pretest-posttest quasi-experimental design. The purpose is aimed at comparing self - efficacy and skill in flood preparedness project management of undergraduate students before and after receiving the self - efficacy enhancement program. The subjects were 33 undergraduate students who received self - efficacy enhancement program which developed by the researchers and based on the self-efficacy theory of Bandura (1997). The findings found that mean scores of self-efficacy perception and mean score of skill in flood preparedness project management after receiving the program were statistically significant higher than before at 0.001 and 0.05 respectively.  It is recommended that the self - efficacy enhancement program in flood preparedness project management should be utilized as the guide to promote self-efficacy perception and skills of other project management of undergraduate students for developing communities.

Downloads

How to Cite

1.
คล้ายสุข อ, ศรียารัตน เ. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและทักษะในการจัดโครงการเตรียมพร้อมรับอุทกภัยของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 Jan. 28 [cited 2024 Mar. 29];16(3):87-94. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/47790