การเสริมสร้างพลังทางบวกของนักเรียนวัยรุ่น โดยการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ; The Enhancement of Positive Strengths of Adolescent Students Through Integrative Group Counseling Intervention
Keywords:
พลังทางบวก, การให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ, Positive strengths, Integrative group counselingAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพลังทางบวกของนักเรียนวัยรุ่น 2) เพื่อพัฒนาการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพลังทางบวกของนักเรียนวัยรุ่น และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพลังทางบวกของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนวัยรุ่นที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทพลีลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตพื้นที่การศึกษา 2 จำนวน 20 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวัดพลังทางบวกของนักเรียนวัยรุ่น มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ 2) การให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพลังทางบวกของนักเรียนวัยรุ่น มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence) อยู่ระหว่าง 0.66 - 1.00 ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยพลังทางบวกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย = 3.43, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.4 1) ประกอบด้วย พลังทางบวกด้านภูมิปัญญาและความรู้ด้านความกล้าหาญ ด้านสัมพันธภาพ และด้านการรู้จักใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ 2) การพัฒนาการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพลังทางบวกของนักเรียนวัยรุ่นพัฒนาจากการบูรณาการแนวคิด ทฤษฎี และเทคนิคต่าง ๆ ของการให้การปรึกษากลุ่ม ประกอบด้วย ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบเกสตัลท์ ทฤษฎีการให้ การปรึกษากลุ่มแบบภวนิยม ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบวิเคราะห์สัมพันธภาพ ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรม นิยม ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริง ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบการรู้คิดและพฤติกรรม และทฤษฎี การให้การปรึกษาครอบครัวแบบโครงสร้าง 3) พลังทางบวกของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม แบบบูรณาการ หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเพิ่มขึ้นมากกว่าพลังทางบวกของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการให้การปรึกษาแบบกลุ่ม word-spacing: 0px; -webkit-text-size-แบบบูรณาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 an>และผลการทำสนทนากลุ่มเฉพาะ พบว่านักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพราะได้เรียนรู้ และมีประสบการณ์ในการเสริมสร้างพลังทางบวก
The purposes of this research were 1) to study positive strengths of the adolescent students, 2) to develop the integrative group counseling intervention for enhancing positive strengths of adolescent students, and 3) to study the effectiveness of the integrative group counseling intervention for enhancing positive strengths of adolescent students. The sample of the study was 20 adolescent students of Mathayomsuaksa V of Thepleela school under the Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. They were then randomly selected into two groups, classified as an experimental group and a control group. Each group consisted of 10 adolescent students. The research instruments were 1) the positive strengths scale with reliability coefficient (alpha) of .97 and its construct validity was confirmed through factor analysis and 2) the integrative group counseling intervention for enhancing positive strengths of adolescent students with the Index of Item Objective Congruence of ranged from 0.66-1.00. The research results were as follows : 1) the total mean score and each dimension score of positive strengths were average. (Mean = 3.43, S.D. = 0.41). The dimensions of positive strengths included wisdom and knowledge, courage, relationship, and constructive use of time. 2) The integrative group counseling intervention for enhancing of positive strengths of adolescent students included concepts and techniques of the group counseling theories : Gestalt counseling in groups, the existential counseling to groups, transactional analysis in groups, behavioral group counseling, reality counseling in groups, cognitive behavioral counseling to groups, and structural family counseling. 3) The positive strengths of the experimental group after participating in the integrative group counseling intervention and after the follow up were significantly higher than before participating in the integrative group counseling intervention at .01 level and also significantly higher than that of the control group at .01 level. Focus group report of the experimental group showed that they were satisfied with the counseling model. They also gained more knowledge and experiences in positive strengths enhancement.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.