ผลของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ทางสุขภาพของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

Authors

  • ชญาภัช มิ่งขวัญใจ สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
  • ชฎาภา ประเสริฐทรง สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
  • ทวีศักดิ์ กสิผล สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว

Keywords:

โปรแกรมการให้ความรู้ทางสุขภาพ, ครอบครัวผู้ดูแล, ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, health educational program, family caregivers, patients with depression

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ทางสุขภาพของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลอง ได้รับการเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้ทางสุขภาพ จำนวน 4 ครั้ง กลุ่มควบคุม ได้รับกิจกรรมการรักษาพยาบาลตามปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลอง มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มควบคุม มีความรู้และการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน ส่วนทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่าก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มทดลอง มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนจึงควรนำโปรแกรมการให้ความรู้ทางสุขภาพไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสมจากครอบครัวผู้ดูแล

This study was a quasi-experimental study. The purposes of this research was to study the effects of community nurse practitioner’s health educational program on the knowledge, attitude and practice in family caregivers of patients with depression. The samples were an experimental group and a control group. Each group had 15 family caregivers. The experimental group had been participated in the health educational program 4 times. The controlled group had been received treatment as an usual nursing activities. The statistics were used in data analysis including percentage, mean, standard deviation and t test. The research results were as follows: The experimental group on the knowledge, attitude and practices in the care of patients with depression, were significantly different before and after experiment. (p = .01). The control group on the knowledge and practices in the care of patients with depression were not significantly different before and after receiving usual nursing activities. The attitude in the care of patients with depression before and after experimental were different at a statistically significant level at .01 level. The experimental group on the knowledge, attitude and practices in the care of patients with depression were significantly from the control group (P = .01). Therefore, the community nurse practitioner should take the health educational program used in patients with depression in the community. To ensure that patients receive appropriate care from family caregivers.

Downloads

How to Cite

1.
มิ่งขวัญใจ ช, ประเสริฐทรง ช, กสิผล ท. ผลของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ทางสุขภาพของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 Jan. 28 [cited 2024 Nov. 22];16(3):60-7. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/47665