การศึกษาความพึงพอใจของเครือข่ายระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่อการให้การสนับสนุนของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; The Study of Local Government Satisfaction towards Supporting Service of National Institute for Emergency Medicine
Keywords:
ความพึงพอใจ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, Satisfaction, Local Government Organization, National Institute for Emergency Medicine (NIEM)Abstract
การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของภาคีเครือข่ายระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการให้การสนับสนุนจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของเครือข่ายจำแนกตามปัจจัยกลุ่มต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้จำนวน 558 คนเป็นผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินและผู้ประสานงานการแพทย์ฉุกเฉินที่สังกัดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และองค์กรปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามลักษณะขององค์กรที่มีการดำเนินงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจของเครือข่ายต่อการสนับสนุนจาก สพฉ. ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายน 2557 - มกราคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของความพึงพอใจของกลุ่มต่าง ๆ ด้วยสถิติ Independent t-test และ One-way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการสนับสนุนที่ได้รับจาก สพฉ. ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 3.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69) ความพึงพอใจรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีความพึงพอใจต่อด้านบุคลากรสูงที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 3.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.72) และมีความพึงพอใจต่อด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่ำที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 3.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.80) เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของเครือข่ายที่มีต่อการสนับสนุนจาก สพฉ. จำแนกตาม เพศ ประสบการณ์ทำงาน อายุ ระดับการศึกษา บทบาทในงาน และสังกัด พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ประสบการณ์ทำงาน อายุ ระดับการศึกษา บทบาทในงาน และสังกัดแตกต่างกันมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.413, และ 4.216; F = 12.555, 4.263, 11.549, และ 10.881, all p < .05)
The objective of this descriptive study was to investigate local government satisfaction towards supporting service provided by the National Institute for Emergency Medicine (NIEM). This study aimed to examine the satisfaction characteristics and compare the satisfaction of those working in emergency medical service (EMS) system of local government organizations (LGOs) including provincial administrative organizations, municipalities and special LGOs. The research sample was 558 EMS providers of LGOs who had at least one year working experience in EMS to be included. Stratified random sampling method was used to select the sample according to the characteristics of the organizations. The research instruments used to collect the data were EMS Supporting Satisfaction Questionnaires conducted during September 2014 - January 2015. The demographic data were analyzed by a statistics including Frequency, Percentages, Means and Standard Deviations. The satisfaction differences among the studied factors were tested by Independent t-test and One-way ANOVA statistics. The results revealed that the local government satisfaction level was much satisfied.
The highest level of satisfaction was NIEM’s personnel dimension (Mean 3.81, SD 0.72), while the lowest level was facilitating factors dimension (Mean 3.65, SD 0.80). Their differences in sex, age, educational level, work role, EMS experience, and organization were statistically different at the 0.05 level with regards to supporting service provided by the NIEM 05 (t = 2.413, and 4.216; F = 12.555, 4.263, 11.549, and 10.881, all p < .05).
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.