ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตร ของมารดาที่มีบุตรคนแรกอายุระหว่าง 2 - 6 เดือน โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี

Authors

  • อรุณี ตระการรังสี โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี (11000)
  • ณัฐกฤตา ศิริโสภณ สาขาสุขศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ (10900)
  • กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์ สาขาสุขศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ (10900)

Keywords:

โปรแกรมสุขศึกษา, พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตร, มารดาที่มีบุตรคนแรกอายุระหว่าง 2 - 6 เดือน, Health Education Program, to Promote First Mothers’s Child Rearing Behavior with 2 - 6 Months Old Child

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษา เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรของมารดาที่มีบุตรคนแรกอายุระหว่าง 2 - 6 เดือน โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี โดยใช้ทฤษฎีแบบจำลอง PRECEDE Framework กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นมารดาที่มีบุตรคนแรกอายุระหว่าง 2 - 6 เดือน มารับบริการที่คลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี จำนวน 60 คน ทำการสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม สุขศึกษาที่ผู้วิจัยจัดให้จำนวน 7 ครั้ง ประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม การส่งเสริมความรู้ การฝึกทักษะและเสริมประสบการณ์ด้านการเลี้ยงดูบุตร ได้ได้แก่การบีบเก็บน้ำนม การเช็ดตัวลดไข้เด็ก การกระตุ้นพัฒนาการเด็กตามวัย การเห็นตัวแบบที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับสุขศึกษาตามปกติที่ทางโรงพยาบาลจัดให้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลอง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมสุขศึกษา มีประสิทธิผลคือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรของมารดาที่มีบุตรคนแรกอายุระหว่าง 2 - 6 เดือน เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

This quasi-experimental research aimed to study effectiveness of health education programs for promoting child rearing behaviors among first-time mothers who had two to six months old child at Pranangklao Hospital, Nonthaburi Province. PRECEDE Model was used as a conceptual framework in this study. The samples were 60 first-time mothers who had two to six months old child receiving health care services at Well Baby  Clinic, Pranangklao Hospital. The samples were randomly assigned to the experimental and Control groups equally. The experimental group received health education program developed by the researcher. The 8-week health education program consisted of various activities such as lecture, group discussion, demonstration and skill practicing in child rearing and telephone consulting. The control group received Pranangklo Hospital regular health education programs including group health education given by professional nurse. Questionnaire was used as an instrument in this study. Data was collected at before and after implementing the program. Mean, standard deviation, paired sample t-test and independent t-test were used to analyze the data.
The study results showed that after participating in the health education program, the experimental group had higher scores in child rearing behavior than before participating in the program and than those in the control group at a .05 significant level. It can be concluded that the health education programs developed by the researcher can effectively promote child rearing behaviors among first-time mothers who had two to six months old child.

Downloads

How to Cite

1.
ตระการรังสี อ, ศิริโสภณ ณ, บุญช่วยธนาสิทธิ์ ก. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตร ของมารดาที่มีบุตรคนแรกอายุระหว่าง 2 - 6 เดือน โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 Jan. 28 [cited 2024 Nov. 14];16(3):23-31. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/47572