อำนาจในการทำนายของการอบรมเลี้ยงดูและการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลในเมืองและชนบทที่มีต่อลักษณะบุคลิกภำพของนักศึกษาวิชาเอกจิตวิทยาไทยและออสเตรเลีย The Predictability of Child Rearing Practice and City - Rural Contact on Personality Characteristic of Thai & Aus
Keywords:
การอบรมเลี้ยงดู, การติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลในเมืองและชนบท, บุคลิกภาพของนักศึกษา, Child Rearing Practice, City - Rural Contact, Student's PersonalityAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาบุคลิกภาพของนักศึกษาไทยและออสเตรเลียและอำนาจการทำนายของการอบรมเลี้ยงดูและการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลในเมืองและชนบทที่มีต่อลักษณะบุคลิกภาพของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับอุดมศึกษาสาขาจิตวิทยาซึ่งประกอบ ด้วยนักศึกษาไทย 161 คน นักศึกษาออสเตรเลีย 443 คน รวมทั้งหมด 604 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบวัดบุคลิกภาพ Goldberg's (1992) International Personality Item Pool (IPIP) มีค่าความเชื่อมั่น = 0.82 แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูมีค่าความเชื่อมั่น = 0.82 สร้างโดยพรรณวดี สมกิตติกานนท์ ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1. แบบประชาธิปไตย (Democratic) 2. แบบเข้มงวด (Restrictiveness) และ 3. แบบปล่อยปละละเลย (Over indulgence) และแบบสอบถามการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลในเมืองและชนบทปรับปรุงจาก Voci & Hewstone (2003) โดย Stefania Paolini มีค่าความเชื่อมั่น = 0.83 ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาไทยและออสเตรเลียมีบุคลิกภาพแตกต่างกันในองค์ประกอบด้านการเปิดรับประสบการณ์ใหม่ การยอมรับ ความมั่นคงทางอารมณ์ ความมีจิตสำนึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่แตกต่างกันในด้านการแสดงออกส่วนการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับด้านการแสดงออก การยอมรับ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความมั่นคงทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การอบรมเลี้ยงดูแบบ ปล่อยปละละเลยมีค่าอำนาจการทำนายทางลบในด้านความมั่นคงทางอารมณ์ และการยอมรับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย แบบประชาธิปไตย การติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลในเมืองและชนบทมีค่าอำนาจการทำนายทางบวกในด้านการเปิดรับประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This study was a survey research. The purpose of this research was to study Thai and Australian students personality and the predictability of child rearing practice and city - rural contact variables on students’ personality. The total of 604 research samples comprised of 161 Thai undergraduate Psychology students and 443 Australian undergraduate Psychology students. The Measurements used in this study consisted of Goldberg's (1992) International Personality Item Pool (IPIP) and the reliability was 0.82, The Child rearing practice questionnaires had the reliability of 0.82, constructed by Punvadee Somkittikanon which is divided into 3 styles consisted of Democratic style, Restrictiveness style and Overindulgent style. The City-rural contact questionnaires adapted from Voci & Hewstone’s (2003) by Stefania Paolini had the reliability of 0.83 It was found that Australian and Thai students 's personality differed from each other significantly on the factors of openness, agreeableness, emotion stability and conscientiousness with p <. 05. But there was no difference on extraversion factor. Democratic child rearing style had positive relationship with extraversion,
agreeableness and openness to experiences, all at p <. 01 and emotion stability with p <. 05. Overindulgentnonresponsive child rearing style had a unique significant negative impact on participants’ emotion stability and agreeableness, both with p <. 05. Overindulgent-nonresponsive child rearing style, Democratic style and City-Rural contact were positive predictors of participants' openness, all with p <. 05.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.