ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือดต่อการฟื้นตัวด้านระบบประสาทของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

Authors

  • อุไร คำมาก สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศิริอร สินธุ ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การให้ยาละลายลิ่มเลือด, การฟื้นตัวทางระบบประสาท, โรคหลอดเลือดสมอง, Thrombolytic drugs, neurological recovery, stroke

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเวลาที่เริ่มเกิดอาการกับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด Intravenous Recombinant Tissue Plasmonogen Activator: rtPA ต่อการฟื้นตัวทางระบบประสาท และปัจจัยที่มีผลต่อเวลาในการมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติจำนวน 93 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่ที่กำหนด เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลการรักษาแบบประเมินการฟื้นตัวทางระบบประสาท วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติการวิเคราะห์แบบพรรณนา และ Chi - square test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันที่มีระดับความรุนแรงทางระบบประสาทระดับปานกลางได้รับยา rtPA ที่ 0 - 180 นาที พบว่ามีผลต่อการฟื้นตัวทางระบบประสาทที่ 24 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) ผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงทางระบบประสาทระดับรุนแรง และระดับรุนแรงมากได้รับยา rtPA ที่ 0 - 90 นาที พบว่ามีผลต่อการฟื้นตัวทางระบบประสาทที่ 24 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< .05) 2. วิธีการนำส่งมีผลต่อเวลาในการมาโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญ เรื่องเวลาในการรักษา ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็ว การให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ผู้ป่วยการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วย

This research aims to study time onset to treatment with intravenous recombinant tissue plasminogen activator (rtPA) to the recovery of the nervous system and factors that affect the timing of arrival to the hospital of 93 patients with acute ischemic stroke at Thammasat hospital by selected according to the inclusion criteria. Research tools contain personal information data sheet, treated data sheet, and neurological recovery data sheet. Data were analyzed using descriptive statistics and Chi - square test. The results were found: 1. Patients with acute ischemic stroke moderate stroke severity treated with intravenous tPA within 180 minutes showed that significantly affects the neurological recovery at 24 hours (P <.05). Patients with moderate to severe stroke and severe stroke severity treated with intravenous tPA within 90 minutes significantly improved neurological at 24 hours (P <.05). 2. Delivering methods significantly affect the timing of arrival to hospital (P <05). This study point to the importance time to treatment. How to give patients rapid access to treatment. Education and creating stroke awareness. Patient access to emergency medical services. Development of guidelines for patient care in hospital. To provide effective results. Increases quality of life patients.

Downloads

How to Cite

1.
คำมาก อ, สินธุ ศ. ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือดต่อการฟื้นตัวด้านระบบประสาทของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Sep. 16 [cited 2024 Nov. 14];16(2):106-13. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/39768