การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของหน่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ รพ.พระมงกุฎเกล้า

Authors

  • กมลวรรณ โป้สมบูรณ์ แผนกพยาบาลรังสีกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ปราณี อ่อนศรี ภาควิชาความรู้พื้นฐาน วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

Keywords:

ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ' หน่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์, clients’ satisfaction, Computer Tomography unit service

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาระดับความพึงพอใจ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ที่มีต่อการให้บริการของหน่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เข้ามารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2557 จำนวน 142 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถาม และคำถามปลายเปิดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยไคสแควร์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการของหน่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการของหน่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในด้านอัธยาศัย และความสนใจต่อผู้ใช้บริการมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (\inline \bar{x} = 4.57, SD = 0.05) ส่วนในด้านค่าใช้จ่ายมีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด (\inline \bar{x}= 4.18,SD = 0.03) ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้ สิทธิการรักษาและโรคประจำตัว ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ที่มีต่อการให้บริการของหน่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แต่พบว่า ระดับความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ (r = .258) ผู้ใช้บริการมีความเห็นว่าจุดเด่นของบริการหน่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ได้แก่ อัธยาศัยและความสนใจของเจ้าหน้าที่ คุณภาพบริการ และความสะอาดของสถานที่ ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนา ปรับปรุงให้สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพได้แก่ จัดเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอ ระบบการนัดที่รวดเร็ว รสชาติสารละลายที่ดื่ม และการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ ในภาพรวมความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการของหน่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ คุณภาพบริการ ซึ่งหน่วยงานควรนำมาเป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนาและช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ

This study was aimed to survey clients’ satisfaction and find association between factors and clients’satisfaction toward Computer Tomography unit service Phramongkutklao Hospital. The data were collected by using 5 rating scale questionnaires with its reliability of .87. The totally 142 clients who visited at Computer Tomography unit during August 2014 were asked to fill the questionnaire. The data were analyzed by using average, standard deviation, chi-square, pearson’s product moment correlation coefficient and content analysis. The results were found as follows: The service attention had the highest mean in the clients’ opinions (\inline \bar{x} = 4.57, SD = 0.05) and the lowest was in the cost of service (\inline \bar{x} = 4.18, SD = 0.03). There was no relationship between selected factor (gender, age, status, educational level, occupation, income, medical payment and history illness) and clients’ satisfaction toward Computer Tomography unit service
Phramongkutklao Hospital whereas quality of life was positively related to clients’ satisfaction toward Computer Tomography unit service Phramongkutklao Hospital (r = .258). The strength of service was divided into 3 point such as service provider, service quality and clean place. Suggestions for improvement were provided staffs sufficiency, rapidly appointment system, easily substance drinking and developed staff potential. The overall clients’ satisfaction toward Computer Tomography unit service Phramongkutklao Hospital was in high level. However, the clients suggested about staff, service quality. The Computer Tomography unit should take the results into account for proper improvement to enhance optimum working effectiveness.




Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
โป้สมบูรณ์ ก, อ่อนศรี ป. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของหน่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ รพ.พระมงกุฎเกล้า. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Sep. 16 [cited 2024 Dec. 22];16(2):30-4. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/39654