ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือด ผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้ Factors Associated Health Behaviors of Uncontrolled DysLlpidemia

Authors

  • ยุภา โพผา พยาบาลวิชาชีพ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลพญาไท 1 กรุงเทพฯ
  • ชฎาภา ประเสริฐทรง คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
  • วนิดา ดุรงฤทธิชัย

Keywords:

พฤติกรรมสุขภาพ, ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้, Health behaviors, Uncontrolled Dyslipidemia

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากร ที่อาศัยในตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เป็นผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีค่าระดับ ไขมันชนิดร้ายแอลดีแอล มากกว่า 100 มก./ดล. ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และมีการบันทึกในเวชระเบียนว่ามีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดหรือขาดเลือดชั่วคราว โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย โรคเบาหวาน อย่างน้อย 1 โรค และรับการรักษาด้วยยามานานอย่างน้อย 3 เดือน ในโรงพยาบาลบางบัวทอง ระหว่าง 1 กรกฎาคม 2556 ถึง 31 ตุลาคม 2556 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 65 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการตรวจวัดร่างกายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียลและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า

ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้มีพฤติกรรมสุขภาพ โดยรวมอยู่ระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.96 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.87 เมื่อวิเคราะห์รายด้านพบว่า การจัดการความเครียดและความรับผิดชอบต่อสุขภาพ อยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.17 และ 3.14 ตามลำดับ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.77 และ 0.80 ตามลำดับ มีการพัฒนา ด้านจิตวิญญาณ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โภชนาการ และกิจกรรมทางกาย อยู่ระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.99 2.98 2.91 และ 2.57 ตามลำดับ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.84 0.80 0.95 และ 1.01 ตามลำดับ พฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความมุ่งมั่น ที่จะปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคล ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรม การรับรู้ประโยชน์ อิทธิพล ด้านสถานการณ์ และมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ระดับการศึกษาและมีความสัมพันธ์ทางลบกับความดันโลหิตตัวล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The purpose of this study was to assess the health behaviors of people with uncontrolled dyslipidemia and the factors associated with health behaviors. The population used in this study were living in Tambon Sano Loi, Bang Bua Thong district, Nonthaburi province with dyslipidemia whose low density lipoprotein cholesterol level is more than 100 mg/dl. Has been diagnosed by a doctor and are recorded in the medical records that include Coronary heart disease, Cerebral ischemic stroke or Transient ischemic attack, Peripheral arterial disease and Diabetes at least one disease and who has been receiving lipid lowering drug for least 3 months be for enrollment. Data used follow up at Bang Bua Thong Hospital from 1 July 2013 to 31 October 2013. A total of 65 sample were used in this study. Data collected with the use of questionnaire and through physical examination. The data were analyzed using description statistic, point biserial correlation and Pearson’s product moment correlation coefficient. The result showed that.

The level of health behaviors of those with uncontrolled dyslipidemia is in overall moderate with mean of 2.96 and standard deviation of 0.87. The aspects of stress management and the responsibility for health analyzed and showed were at high level. With a mean of 3.17 and 3.14 respectively and standard deviation of 0.77 and 0.80 respectively. The spiritual management, interpersonal influence, Nutrition and physical activity were all at moderate level. With mean of 2.99 2.98 2.91 and 2.57 respectively and standard deviation of 0.84 0.80 0.95 and 1.01 respectively.

Health behaviors of those with uncontrolled dyslipidemia correlated positively to the commitment to plan of actions, self-efficacy, interpersonal influence, activity related affect, perceived benefit, and situational influence and correlated negatively to stress as showed statistically significant at .01 level. And correlated positively to level education and correlated negatively to the diastolic blood pressure as showed statistically significant at .05 level.

Downloads

How to Cite

1.
โพผา ย, ประเสริฐทรง ช, ดุรงฤทธิชัย ว. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือด ผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้ Factors Associated Health Behaviors of Uncontrolled DysLlpidemia. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Jun. 16 [cited 2024 Nov. 19];16(1):123-30. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/36175