ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับโภชนาการ และข้อมูลโภชนาการบนฉลากโภชนาการของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

Authors

  • วิริยา โพธิ์ขวาง-ยุสท์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • อติญาณ์ ศรเกษตริน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • รุ่งนภา จันทรา

Keywords:

ความรู้, ทัศนคติ, การปฏิบัติด้านโภชนาการ, ฉลากโภชนาการ, นักศึกษาพยาบาล, knowledge, attitude, practice, nutritional food labels, nursing students

Abstract

งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับโภชนาการ และข้อมูลบนฉลาก โภชนาการของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาพยาบาล จำนวน 300 คน สุ่มแบบสัดส่วนตามชั้นปี และแบบอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับโภชนาการ และข้อมูลโภชนาการบนฉลากโภชนาการ เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน นำไปทดลองใช้ในนักศึกษาจำนวน 30 คน และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบความรู้โดยใช้สูตร ของคูเดอร์ริชาร์สัน ได้เท่ากับ 0.72 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทัศนคติ และแบบสอบถามการปฏิบัติเกี่ยวกับโภชนาการ และข้อมูลโภชนาการบนฉลากโภชนาการโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.76 และ 0.81

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีความรู้เกี่ยวกับประเภทอาหาร และสารอาหารในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ มีความรู้เกี่ยวกับประเภทอาหารในระดับดีแต่มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับสารอาหารในระดับต่ำ มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับฉลาก โภชนาการอยู่ในระดับพอใช้ นักศึกษาพยาบาลมีทัศนคติทางบวก การปฏิบัติด้านโภชนาการ และการอ่านฉลากโภชนาการอยู่ ในระดับต่ำ และปัจจัยด้านเพศ ชั้นปีที่กำลังศึกษา และสถานภาพสมรส ไม่มีความสัมพันธ์ต่อความรู้ และการปฏิบัติด้านโภชนาการ และการอ่านฉลากโภชนาการ ในขณะที่ความรู้มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติด้านโภชนาการและการอ่านฉลากโภชนาการ ดังนั้น นักศึกษาพยาบาลควรได้รับการสอน และการฝึกในเรื่องโภชนาการ และการอ่านฉลากโภชนาการเพื่อส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ

 

Knowledge, Attitude, and Practice towards Nutrition and Nutrition Lebels of Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Surat-Thani

This survey study aimed to describe knowledge, attitude, and practice about nutrition and food label reading of nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Surat-Thani. The researcher-developed questionnaires, validated by 3 experts in the field and pilot- tested in 30 nursing students, were distributed to 300 nursing students, who were proportitionally sampled and selected accordingly to their year of study. The questionnaire consisted of questions asking the respondants about general demographic information, knowledge, attitude, and practice about nutrition and food label reading. The coefficient of the questionnaire, measured by Kuder-Richardson, for the knowledge was 0.72 whereas the Cronbach’s alpha coefficients for the attitude and practice were 0.76 and 0.81, respectively.

The result of study showed that the nutritional knowledge of nursing students was at moderate level. Their knowledge regarding macronutrients was at good level, but the knowledge regarding micronutrients was at low level. The knowledge regarding food labels was at moderate level. Nursing students had positive attitudes towards nutritional practice of healthy eating, doing exercise, and food label reading. Reasons that nursing students did not read the food labels included no time and no knowledge about food labels and nutritional information on the food labels. Year of study, gender, and marital status affected nutritional knowledge, attitude, and practice of nursing students. Nutritional attitude was not related to nutritional knowledge and nutritional practice. Only was nutritional knowledge related to nutritional practice. In order to improve nutritional practice and food label reading, nursing students should be taught and trained in their nutritional knowledge and food-lable reading

Downloads

How to Cite

1.
โพธิ์ขวาง-ยุสท์ ว, ศรเกษตริน อ, จันทรา ร. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับโภชนาการ และข้อมูลโภชนาการบนฉลากโภชนาการของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Jun. 16 [cited 2024 Nov. 19];16(1):93-100. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/36164