ผลของการเตรียมผู้ป่วยเด็กร่วมกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลายของเด็กวัยเรียน
Keywords:
พฤติกรรมความร่วมมือ, การได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย, เด็กวัยเรียน, Compliance behavior, Peripheral intravenous infusion, School-Age childrenAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการเตรียมผู้ป่วยเด็กร่วมกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลายของเด็กวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอายุ 7 - 12 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็ก แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการจับคู่ประสบการณ์ที่ได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลายเหมือนกัน กลุ่มละ 23 คน กลุ่มทดลองได้รับการเตรียมผู้ป่วยเด็กร่วมกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการเตรียมผู้ป่วยเด็กร่วมกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน และแบบสังเกตพฤติกรรมความร่วมมือในการได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา แบบสังเกตมีค่าความเที่ยงของการสังเกตเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมความร่วมมือในการได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำ
ส่วนปลายของเด็กวัยเรียน กลุ่มที่ได้รับการเตรียมผู้ป่วยเด็กร่วมกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This quasi-experimental research study aimed at examine the effect of pediatric patient preparation combined with computer-assisted instruction program (PPP-CAI program) on compliance behavior. Subjects were children aged 7 - 12 years old admitted to the pediatric wards and were assigned to the control or the experimental group. There were 23 subjects in each group. The control group received the routine nursing care, while the experimental received the PPP-CAI program. Research instruments included the PPP-CAI program and the compliance behavior in peripheral intravenous infusion observation form. All instruments passed content validity. The inter-rater reliability of the observational form was .93. Mean, standard deviation, Chi-square, and independentstudent-t test were used to analyze data. The results revealed that the mean of the compliance behavior in peripheral intravenous infusion in school-age children in the experimental group was higher than that in the control group at the significant level of .05.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.