ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวด้านความสำมารถในการทำหน้ำที่ของร่างกายในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว Factors Predicting the Recovery of Activlty of Daily Living Functlon in Patients Undergoing lumbar Surgery

Authors

  • ชนิภา ยอยืนยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผ่องศรี ศรีมรกต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การฟื้นตัว, การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, ผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว, ความเจ็บปวด, ความวิตกกังวล, ความพึงพอใจการพยาบาล, Recovery, Daily Llvlng, Lumbar Surgery, Pain, Anxlety, Satisfaction Toward Nurslng

Abstract

การทำาหน้าที่ของร่างกายในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันแสดงถึงการฟื้นตัวของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ส่วนเอวและแปรผันไปตามปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ความเจ็บปวด ความวิตกกังวลและความพึงพอใจในการพยาบาล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของความเจ็บปวด ความวิตกกังวล และความพึงพอใจในการพยาบาลต่อการฟื้นตัวด้านความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยใช้กรอบทฤษฎีการเปลี่ยนผ่าน (Transition theory) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว จำนวน 86 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเจ็บปวดแบบตัวเลข แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ แบบประเมินความพึงพอใจของมันโรและคณะ และแบบประเมินการฟื้นตัวด้านความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 58.14) อายุเฉลี่ย 59.80 ปี เป็นโรคช่องกระดูกสันหลังแคบ (ร้อยละ
41.9) ผลการศึกษา พบว่า ความวิตกกังวล ความเจ็บปวด และความพึงพอใจในการพยาบาลมีอำนาจในการทำนายการฟื้นตัวฯได้ถึงร้อยละ 47.9 (R2 = .479 p < .01: ความวิตกกังวล R2 = .354: ความเจ็บปวด R2 = .257: ความพึงพอใจในการพยาบาล R2 = .215) ผลการศึกษาที่ได้บ่งชี้ว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังควรได้รับการจัดการความปวด บรรเทาความวิตกกังวลและส่งเสริมความพึงพอใจในการพยาบาลเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวหลังผ่าตัดรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Physical functions in term of activity of daily living functions indicate the recovery of lumbar surgery patients and varies according to such key factors as pain, anxiety and satisfaction towards nursing. The objective of this research was to study the predictive power of pain, anxiety and satisfaction towards nursing on the recovery of daily living functions in lumbar surgery patients based on Transition theory. The sample group comprised 86 lumbar surgery patients recruited by purposive sampling. Research instrumentation included the Visual Analog Scale on Pain, the State Anxiety Inventory, the satisfaction measurement scale by Monro et al. and the recovery of activity of daily living functions measurement scale. Data analysis was performed by using descriptive statistics, the Pearson Product Moment correlation and multiple regression analysis. The significance level was set at 0.05. The patients were mostly females (58.14%), aged 59.80 years and had been diagnosed with spinal stenosis (41.9%). The findings revealed pain, anxiety and satisfaction toward nursing to be capable of predicting 47.9% of the recovery in this group of patients (R2 = .479 p < .01: anxiety R2 = .354: pain R2 = .257: nursing satisfaction toward nursing R2 = .215) For confirm that promoting the transition from illness to health post, lumbar surgery patients should receive effective pain management, anxiety relief and promotion of satisfaction towards nursing in order to achieve fast and effective postoperative recovery.


Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
ยอยืนยง ช, ศรีมรกต ผ. ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวด้านความสำมารถในการทำหน้ำที่ของร่างกายในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว Factors Predicting the Recovery of Activlty of Daily Living Functlon in Patients Undergoing lumbar Surgery. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Jun. 16 [cited 2024 Dec. 19];16(1):62-9. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/35810