ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลสิรินธร สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

Authors

  • อรดี โชติเสน สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุรเดช ประดิษฐบาทุกา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อารี ชีวเกษมสุข สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Keywords:

พฤติกรรมสุขภาพ, การสื่อสาร, ผู้ป่วยเอดส์, โรงพยาบาลสิรินธร, health behaviors, communication, AIDS patients, Sirindhorn Hospital

Abstract

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของผู้ป่วยเอดส์ การสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ป่วยเอดส์ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารผู้ให้บริการกับผู้ป่วยเอดส์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ป่วยเอดส์มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในระดับน้อย โดยจำนวนผู้ป่วยที่มีความรู้น้อยคิดเป็นร้อยละ 84.25 การสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ป่วยเอดส์อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ป่วยเอดส์มีการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคอยู่ในระดับมาก 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์ 3) การสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ป่วยเอดส์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.01

The objectives of this survey research were to study: (1) knowledge about human immunodeficiency virus and acquired immune deficiency syndrome (HIV/AIDS) of People living withHIV/AIDS, communication between healthcare providers and People living with HIV/AIDS, and Peopleliving with HIV/AIDS health behaviors; (2) the relationship between People living withHIV/AIDSknowledge about HIV/AIDS and their health behaviors; and (3) the relationship between healthcareproviders –People living with HIV/AIDS and patients health behaviors, at Sirindhorn Hospital under the Bangkok Metropolitan Administration. The findings showed that: (1) the People living with HIV/AIDS knowledge about HIV/AID Swas at a low level as 84.25 percentage about HIV/AIDS; while the communication between healthcareproviders with the patients was at a highest level, and the patients’ health behaviors were at a high level; (2) the knowledge about
HIV/AIDS had no relationship with the patients’ health behaviors; and (3) the provider-patient communication was significantly associated with the patients’ health behaviors (p<0.01).

Downloads

How to Cite

1.
โชติเสน อ, ประดิษฐบาทุกา ส, ชีวเกษมสุข อ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลสิรินธร สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Jun. 16 [cited 2024 Nov. 19];16(1):41-50. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/35808