ผลของการจัดกิจกรรมการควบคุมน้ำหนักโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ความรู้ และพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของบุคลากร โรงพยาบาลค่ายวิภาวดีรังสิต

Authors

  • พรภิมล วงมุสิก โรงพยาบาลค่ายวิภาวดีรังสิต
  • อารี พุ่มประไวทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • สุคนธ์ วรรธนะอมร สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์

Keywords:

การจัดกิจกรรมควบคุมน้ำหนัก, ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร, พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก, weight-controlled program, BMI was 23 kg/m2 or over, weight control behaviors

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบ One-Group Pretest-Posttest Design มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการควบคุมน้ำหนักของบุคลากร โรงพยาบาลค่ายวิภาวดีรังสิต จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่มีดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร คำนวณจากการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป G*Power analysis จำนวน 30 ราย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจของแมคเคิลล์แลนด์ และแรงสนับสนุนทางสังคมของเฮ้าส์ เป็นกรอบในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.77 ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการควบคุมน้ำหนัก กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และค่าดัชนีมวลกายไม่แตกต่างจากก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม มีพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม และเส้นรอบเอวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ 1) ควรมีนโยบายส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายในที่ทำงาน 2) การจัดกิจกรรมควบคุมน้ำหนัก ควรมีการทำงานร่วมกัโดยทีมสหวิชาชีพ 3) ส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการควบคุมน้ำหนักเนื่องจาก ครอบครัวมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารอย่างมาก

This study is a quasi-experimental study using one-group pretest-posttest design. The objective of the study was to evaluate the effects of using weight-controlled program in staffs at Fort Wiphavadi Rangsit hospital, Suratthani province. Thirty staffs whose body mass index (BMI) was 23 kg/m2 or over were recruited to the study. The G*Power analysis program was used to calculate the BMI. The activities to produce weight loss motivation in this program were applied from McClelland’s Theory of Needs and Social Support Theory (House, 1985). All Questionnaires were tested for content validity by 5 panels of experts, and reliability with Alpha Cronbach Coefficients of 0.77. The results showed that the knowledge about BMI and weight control of the subjects had not changed after participation in the program. However, there were improvements in their weight control behaviors. The waist circumference was significantly decreased (P<0.05).
The suggestions from this research are the following: 1) should be encourage policy of exercise at workplace; 2) the weight control activity should be run jointly by a multidisciplinary team; 3) families should be included in the program as an integral part of weight management because they influence eating behavior in a variety of ways.



Downloads

How to Cite

1.
วงมุสิก พ, พุ่มประไวทย์ อ, วรรธนะอมร ส. ผลของการจัดกิจกรรมการควบคุมน้ำหนักโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ความรู้ และพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของบุคลากร โรงพยาบาลค่ายวิภาวดีรังสิต. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Jun. 16 [cited 2024 Nov. 19];16(1):33-40. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/35136