คุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า The Quality of Life among pregnant women who received antenatal care at Phramongkutklao Hospital

Authors

  • พรนภา เจริญสันต์
  • ขวัญเรือน ด่วนดี
  • รังสินี พูลเพิ่ม

Keywords:

หญิงตั้งครรภ์, คุณภาพชีวิต, สัมพันธภาพในครอบครัว, การสนับสนุนทางสังคม, Pregnant women, the quality of life in pregnant women, family relationships, social support

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์ (Correlational Descriptive Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ ศึกษาอิทธิพลทำนายร่วมของสัมพันธภาพในครอบครัวและการสนับสนุนทางสังคม ต่อคุณภาพชีวิต และศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตระหว่างหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นกับหญิงตั้งครรภ์ในวัยเจริญพันธุ์ ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ณ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 164 คน เก็บรวมรวบโดยใช้แบบสอบถาม และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 91.28 มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับกลาง ส่วน   การสนับสนุนทางสังคมและสัมพันธภาพในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์    ในระดับปานกลาง (r = .600, p < .01 และ r = .516, p < .01 ตามลำดับ) สัมพันธภาพในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 37.0 (R2 = .370) และค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น กับหญิงตั้งครรภ์วัยผู้ใหญ่ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= -.012, p = .080)

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคมให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

คำสำคัญ : หญิงตั้งครรภ์; คุณภาพชีวิต; สัมพันธภาพในครอบครัว; การสนับสนุนทางสังคม

 

Abstract

The Correlational Descriptive Research aimed to find the the level of quality of life,  correlation between the family relationships  and social supports and the quality of life in pregnant women. The purposive sample was 164 pregnant women whorecieved antenatal care at Pramongkutklao hospital. They were asked to complete the questionnaires divided into 4 parts ; demographic form, the family relationships questionnaire, the social supports questionnaire and the quality of life questionnaire. Descriptive statistics, Pearson product moment correlation, Stepwise Multiple Regression and Independent sample t-test were employed to analyze the data. The results shown the moderate level quality of life in pregnant women. The social supports and the family relationships positively associated with the quality of life. (r = .600, p < .01 และ   r = .516, p < .01 consequently). Moreover, the relationship between family members and social support could, together, significantly explain 37% of variance in quality of life. (p < .001) There was no difference in means score of quality of life between teenage and adult age pregnant women. (t= -.012, p = .080)

Promoting the relationship in their family and social supports are the keys to develop the quality of life in pregnant women

Key words: Pregnant women; the quality of life in pregnant women; family relationships; social support

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

26-12-2012

How to Cite

1.
เจริญสันต์ พ, ด่วนดี ข, พูลเพิ่ม ร. คุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า The Quality of Life among pregnant women who received antenatal care at Phramongkutklao Hospital. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2012 Dec. 26 [cited 2024 Dec. 19];13(3):47-59. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/3197