แรงบันดาลใจในภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลงของพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วยต่อการรับรู้พลังอำนาจของพยาบาลวิชาชีพ Inspiration in transformational leadership of head ward nurses to perceive empowerment of professional nurses

Authors

  • จินตนา อาจสันเที๊ยะ กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • จริยา ชื่นศิริมงคล ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
  • เรวดี ลือพงศ์ลัคนา ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
  • สุวรรณา อนุสันติ กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

Keywords:

แรงบันดาลใจในภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลง, หัวหน้าหอผู้ป่วย, การรับรู้พลังอำนาจ, พยาบาลวิชาชีพ, Inspiration in transformational leadership of ward head nurses, empowerment in nursing

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงบันดาลใจในภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำต่อการรับรู้พลังอำนาจของพยาบาลวิชาชีพ การเก็บรวบรวมข้อมูล : กลุ่มตัวอย่างคือหัวหน้าหอผู้ป่วยจำนวน7 คน และพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วย จำนวน 30 คนในแผนกต่าง ๆ ที่มีประสบการณ์การทำงานในช่วงต่าง ๆ โดยใช้วิธีการสุ่มแบบจำเพาะเจาะจงดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์หัวหน้าหอผู้ป่วย เกี่ยวกับความเข้าใจ และความหมายแรงบันดาลใจในภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลง ต่อการรับรู้พลังอำนาจของพยาบาลวิชาชีพ ตลอดจนการให้ความหมายของการพยาบาล ต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาล และใช้การสนทนากลุ่ม (Focus group) จำนวน 2 ครั้ง การจัดทำกลุ่มครั้งที่ 1 เพื่อประเมินปัจจัย ปัญหา อุปสรรคที่ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลง ส่วนการจัดทำกลุ่มครั้งที่ 2 เป็นการจัดทำกลุ่มเพื่อหาแรงบันดาลใจ ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้พลังอำนาจของพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้เวลาทำกลุ่มประมาณ 45 - 60 นาที การวิเคราะห์ข้อมูล: ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ในการสร้างประเด็นหลัก (theme) การณ์นั้นๆ ผลการวิจัย : พบว่าการให้ความหมาย และความเข้าใจของแรงบันดาลใจในภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้า หอผู้ป่วยต่อการปฏิบัติการพยาบาลนั้นเป็นการวาดภาพที่มาจากประสบการณ์ของแต่ละคน แรงบันดาลใจในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กร รักในองค์กร ร่วมมือร่วมใจ เพื่อให้องค์กรพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันจึงเป็นแรงบันดาลใจในความต้องการพัฒนาวิชาชีพที่มาจากความต้องการของพยาบาลโดยมีความรักในวิชาชีพเป็นฐานความคิดอาศัยแรงบันดาลใจที่ต้องการให้มีสิ่งใหม่ในการปฏิบัติงานปัจจุบันตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง ส่วนการรับรู้พลังอำนาจต้องมีการใช้พระเดช และพระคุณที่มีความหมายว่าต้องรู้และเข้าใจสถานการณ์นั้น ๆ ส่วนพลังอำนาจคือความมีอำนาจหรือมีอิทธิพลต่อการบริหารงานบุคคลแต่จะต้องใช้พลังอำนาจอย่างถูกต้องและยุติธรรม ควรมีการเพิ่มศักยภาพของบุคคล โดยการเสริมแรง ให้อำนาจในการคิด การตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ส่วนด้านปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำพบว่า ผู้นำยังขาดความสม่ำเสมอในการติดตามงาน การนิเทศงาน และขาดความเป็นแบบอย่างที่ดีในบางสถานการณ์ สรุปผลการวิจัย : ผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลงต้องแสดงสมรรถนะในด้านความรู้และการจัดการเชิงระบบให้ชัดเจนมีพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี มีการมอบอำนาจสร้างพลังอำนาจและให้กำลังใจให้ความสำคัญกับทุกตำแหน่งในหน้าที่ในบทบาทที่เหมาะสม และถูกต้องตามกาลเทศะ มีการวางแผนการจัดองค์การ การบริหารงานบุคคลการอำนวยการการขอความร่วมมือการรายงานต่างๆ การจัดการการเงินที่โปร่งใสตรวจสอบได้ มีความสามารถในการลดความเหลื่อมล้ำในวงการของสังคมในหน่วยงานใช้การเปลี่ยนผ่านพัฒนาศักยภาพบุคลากรในองค์กร สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

The objective of this qualitative research was to study the transformational leadership of ward head nurses that inspires staff nurses toward a perceived empowerment. Collecting data: By using purposive sampling, the samples composed of 7 head nurses and 30 registered nurses in various wards with different working experiences. Data collection used techniques of in-depth interview and 2 times focus groups for the study of meaning and understanding of inspiration in transformational leadership of ward head nurses to perceived empowerment in nursing. The objective of the fist focus group was to evaluate factors, problems, obstacles that affected the inspiration in transformational leadership of head ward nurses. The objective of the second focus group was to study factors that affected the perceiving of empowerment in nursing. The duration of each focus group was between 45-60 minutes. Data Analysis: Content analysis was used for creating the theme of the result. The result: The meaning and understanding of transformational leadership on perceived empowerment of ward head nurses were drawn from the experience of each person. A loving organization and close
coordination in developing the organization inspire each person of the need for development and the need to change individually and as an organization. Nurses’ perceived empowerment is a result of a strong nursing leadership. Leadership’s kindness coupled with strict adherence to rules can motivate the staff. However, proper staffig based on qualifiations, support for education, positive thinking and following of organizational workflw are wanting. The problems in transformation leadership of ward head nurses are lack of consistency in supervision and mentoring, lack of enthusiasm to work and unfavorable management’s direct response which are not benefiial to work. Conclusion: Transformational leadership of ward head nurses is expressed in the capacity of creating a knowledge system management in planning (P), organization (O), staffig (S), directing (D), cooperating (Co) "> report (R) and budgeting (B). However, the transformational leaders should manage to decrease the management’s inequity in staffig and create a culture of learning in the organization.

Downloads

How to Cite

1.
อาจสันเที๊ยะ จ, ชื่นศิริมงคล จ, ลือพงศ์ลัคนา เ, อนุสันติ ส. แรงบันดาลใจในภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลงของพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วยต่อการรับรู้พลังอำนาจของพยาบาลวิชาชีพ Inspiration in transformational leadership of head ward nurses to perceive empowerment of professional nurses. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Feb. 4 [cited 2024 Nov. 5];15(3):398-406. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/31304