โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นของพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งนวัตกรรมของอาจารย์พยาบาลในสถาบันสมทบคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Authors

  • องค์อร ประจันเขตต์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุชาดา นันทะไชย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น, พฤติกรรมการทำงานที่มุ่งนวัตกรรม, อาจารย์พยาบาล, Linear Structural Equation Model, Innovative Work Behavior, Nursing Instructors

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ภาวะผู้นำด้านนวัตกรรม ทักษะหลักที่เกี่ยวข้องในงาน แรงจูงใจภายในต่อการทำหน้าที่ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ และพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งนวัตกรรมในสถาบันสมทบคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้าง เชิงเส้นของพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งนวัตกรรมของอาจารย์พยาบาลในสถาบันสมทบคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่างเป็นอาจารย์พยาบาล ในสถาบันสมทบ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2556 จำนวน 394 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง มีผลการวิจัย ดังนี้ 1. สถาบันสมทบคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมีระดับของการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม และผู้บริหารมีภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก \inline \bar{x} = 3.62, S. D. = 0.60 และ \inline \bar{x} = 3.60, S. D. = 0.77 ตามลำดับ 2. อาจารย์พยาบาล ในสถาบันสมทบคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีทักษะหลักที่เกี่ยวข้องในงาน แรงจูงใจภายในต่อการทำหน้าที่ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ และพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก \inline \bar{x} = 4.05, S. D. = 0.49, = 4.15, S. D. = 0.57, \inline \bar{x} = 4.03, S. D. \inline \bar{x} = 0.53 และ \inline \bar{x} = 3.92, S. D. = 0.56 ตามลำดับ 3. โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นของพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งนวัตกรรมของอาจารย์พยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามเกณฑ์ดังนี้ (Chi - Square = 52.410 df = 41, P-value = .090, GFI = .984, AGFI = .945, RMSEA = .028, RMR = 0.016) โดยปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งห้าด้านร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งนวัตกรรม ได้ร้อยละ 93

The objectives of this research were 1) to study the level of innovative organization, innovation leadership, domain-relevant skills, intrinsic task motivation, creative-relevant processes and innovative work behavior and 2) to investigate the congruence between a linear structural equation model of innovative work behavior of nursing instructors in Affiiated institutions of the Nursing faculty, Mahidol University and empirical data. The methodology using the quantitative research. Sample were 394 nursing instructors in Affiiated institutions of the Nursing faculty, Mahidol University in 2013 academic year selected by multistage random sampling. Research instrument was the 5 rating scales questionnaire with reliability 0.97. Data were analyzed by using structural equation modeling techniques.The fiding revealed that: 1. Affiiated institutions of the Nursing faculty, Mahidol University have level of innovative organization and the administrators have level of innovation leadership in high level \inline \bar{x} = 3.62, S. D. \inline \bar{x} = 0.60 and \inline \bar{x} = 3.60, S. D. = 0.77 respectively. 2. The nursing instructors in Affiiated institutions of the Nursing faculty, Mahidol University showed their level of domain-relevant skills, intrinsic task motivation, creative-relevant processes and innovative work behavior in high level \inline \bar{x} = 4.05, S. D. \inline \bar{x} = 0.49, \inline \bar{x} = 4.15, S. D. = 0.57, \inline \bar{x} = 4.03, S. D. = 0.53 and \inline \bar{x} = 3.92, S. D. \inline \bar{x} = 0.56 respectively. 3. The developed linear structure equation model of innovative work behavior of nursing instructors was congruence with empirical data as criterion as follow: Chi - Square = 52.410 df = 41, P-value = .090, GFI = .984, AGFI = .945, RMSEA = .028, RMR = 0.016. All of 5 causal factors jointly explained 93% of variation in innovative work behavior.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
ประจันเขตต์ อ, นันทะไชย ส. โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นของพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งนวัตกรรมของอาจารย์พยาบาลในสถาบันสมทบคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Feb. 4 [cited 2024 Dec. 22];15(3):371-8. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/31177