ผลของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการตรวจครรภ์ ต่อความรู้ ทักษะการตรวจครรภ์ และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล

Authors

  • จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ฤดี ปุงบางกะดี่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน, การตรวจครรภ์, ความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล, computer assisted instruction, abdominal examination, satisfaction of nursing student

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการตรวจครรภ์ต่อความรู้ ทักษะการตรวจครรภ์และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 60 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มควบคุมจำนวน 28 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 32 คน โดยกลุ่มทดลองเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการตรวจครรภ์ และกลุ่มควบคุมเรียนด้วยการสอนสาธิตการตรวจครรภ์กับหุ่นจำลอง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้เรื่องการตรวจครรภ์ แบบประเมินทักษะการตรวจครรภ์ และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการตรวจครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการตรวจครรภ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการตรวจครรภ์และคะแนนทักษะการตรวจครรภ์หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และมีความพึงพอใจต่อการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่าการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้เป็นสื่อในการสอน ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้นอาจารย์พยาบาลจึงควรนำคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนมาใช้ประกอบกับการสอนในรูปแบบเดิม เพื่อเพิ่มโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ทบทวนความรู้ตามความต้องการของตนเอง

The purpose of this Quasi - experimental research was to study the effect of computer assisted instruction of abdominal examination on knowledge, abdominal examination skills and satisfaction of nursing students. The sample was the bachelor degree third year nursing students at the Faculty of Nursing, Mahidol University with a total number of 60. All participants were simple randomly assigned to the control group (n = 28) learning through usual methods of demonstration and the experimental group (n = 32) learning through computer assisted instruction of abdominal examination. Data were collected by using a knowledge questionnaire, an abdominal examination checklist and a satisfaction questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and t - test. Main fidings revealed that knowledge after learning of the experimental group higher than before the experiment was statistically signifiant at the .01 level. Experimental group had knowledge and skills of abdominal examination after learning higher than the control group was statistically signifiant at the .01 level. The satisfaction of the experimental group on computer-assisted instruction of abdominal examination was in highest level. In conclusion, Using the computer-assisted instruction makes learning more effective. Therefore, instructors should apply computer-assisted instruction combined with traditional teaching method to increase opportunities for students to review their knowledge of their own needs.

Downloads

How to Cite

1.
บูรณศักดิ์ จ, ลิมเรืองรอง ป, ปุงบางกะดี่ ฤ. ผลของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการตรวจครรภ์ ต่อความรู้ ทักษะการตรวจครรภ์ และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Feb. 4 [cited 2024 Nov. 21];15(3):361-70. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/31174