ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1
Keywords:
ปัจจัยคัดสรร ผลลัพธ์การเรียนรู้, นักศึกษาพยาบาล, ฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1, Selected Factors, Learning Outcomes, Nursing Students, Maternal-Newborn and Midwifery Nursing Practicum IAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 ประชากร คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จำนวน 103 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 102334 ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ปีการศึกษา 2555 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 9 คน และตอบแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล เจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล การฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1โดยหา
ความเครียดขณะฝึกปฏิบัติงาน และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ที่ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านและหาค่าความเที่ยงด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .643, .948, .924 และ .939 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายใน ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสม เจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล และความเครียดขณะฝึกปฏิบัติไม่มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาในแต่ละด้านและโดยรวม สำหรับปัจจัยภายนอกได้แก่ การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สัมพันธภาพกับเพื่อน และสถานที่ฝึกปฏิบัติงาน/สภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทางบวก ระดับต่ำกับผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาโดยรวมทั้ง 6 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 (ρ = .281, .299 และ .231 ตามลำดับ) ส่วนพฤติกรรมการสอนอาจารย์นิเทศ/พยาบาลพี่เลี้ยง และที่พักอาศัยไม่มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาในแต่ละด้านและโดยรวม จากผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่อาจารย์ควรจัดกิจกรรมเพิ่มในภาคทฤษฎี เพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนฝึกปฏิบัติ ส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และจัดสิ่งแวดล้อมในสถานที่ฝึกปฏิบัติที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล
The purpose of this study was to study the relationships between internal and external factors affecting nursing students’ learning outcome in Maternal-Newborn and Midwifery Nursing Practicum I at Saint Louis College. The population was composed of 103 third year nursing students, who registered 102334 Maternal-Newborn and Midwifery Nursing Practicum I in the academic year 2012. The data were collected by focus group, two groups with each group of nine students and questionnaires which were divided into fie main parts: 1) demographic information 2) Attitude to professional nursing 3) Maternal-Newborn and Midwifery nursing practice I 4) stress during practice and 5) learning outcomes from Thai Qualifiations Framework for Higher Education. The research measurements were validated by three experts and the reliability of the questionnaire by using Cronbach’s Alpha Coeffiient were .643, .948, .924 and .939, respectively. The data were analyzed by using content analysis, descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation Coeffiient. The results of this study indicated that the internal factors such as the average grade point, attitude to professional nursing and stress during practice were not correlated with each aspect and the whole of learning outcomes from Thai Qualifiations Framework for Higher Education. The external factors such as course management in practice, the relationships with friends and environment to practice had low positive relationship with the six aspects of learning outcomes from Thai Qualifiations Framework for Higher Education at statistically signifiant level .05 and .01 (ρ = .281, .299 and .231, respectively) However, the teaching behavior of teachers/preceptors and home were not correlated with the learning outcomes. This study suggests that the important things was teacher should add activities in the theory in order to prepare the nursing students before practice, promote interpersonal and set environment in the practice unit for to increase nursing students’ learning outcome.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.