ความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดของพลทหารใหม่

Authors

  • กุนนที พุ่มสงวน
  • อายุพร ประสิทธิเวชชากูร
  • องค์อร ประจันเขตต์

Keywords:

ความเครียด, วิธีการเผชิญความเครียด, พลทหารใหม่, stress, Coping Strategies, New Privates

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด และวิธีการเผชิญความเครียดของพลทหารใหม่ รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ พลทหารใหม่ผลัด 2 ปี 2552 จำนวน 109 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ จำนวน และร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.6 มีสถานภาพโสด และจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด ร้อยละ 33.9 ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ส่วนใหญ่ มีระดับความเครียดเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 51.4 รองลงมามีสุขภาพจิตปกติ คิดเป็นร้อยละ 45.9 สำหรับวิธีเผชิญความเครียด ด้านการแก้ไขปัญหา ส่วนใหญ่ใช้วิธีลดหรือขจัดความเครียดโดยพยายามวิเคราะห์ปัญหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นแบบใช้บ่อยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 49.5 ด้านการยอมรับ ส่วนใหญ่ใช้วิธีลดหรือขจัดความเครียดโดยยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นว่าไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ แบบใช้บ้างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.0 ด้านการแสวงหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม ส่วนใหญ่ใช้วิธีลดหรือขจัดความเครียดโดยทำบุญตักบาตร / ทำบุญทางศาสนา ไปวัด ฟังเทศน์สนทนาธรรม / ไปโบสถ์ / ไปสุเหร่า แบบใช้บ้างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.8 ด้านการหลีกหนี ส่วนใหญ่ใช้วิธีลดหรือขจัดความเครียดโดยหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้ไม่สบายใจหรือเป็นปัญหา เช่น ลาป่วยหรือขาดเรียน แบบใช้บ้างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.8 ด้านการต่อต้าน ส่วนใหญ่ใช้วิธีลดหรือขจัดความเครียดโดยแสดงอารมณ์โกรธหรือไม่พอใจต่อบุคคลนั้นๆแบบใช้บ้างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54.1 ด้านการเบี่ยงเบนความสนใจ ส่วนใหญ่ใช้วิธีลดหรือขจัดความเครียดโดยพยายามทำสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยลองทำ แบบใช้บ้างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 56.0 รองลงมาคือการมีเพศสัมพันธ์ ด้านการผ่อนคลายความเครียด ส่วนใหญ่ใช้วิธีลดหรือขจัดความเครียดโดยนั่งสมาธิหรือสวดมนต์ไหว้พระ / อธิษฐาน / ละหมาด แบบใช้บ้างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.7

จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึง วิธีการที่พลทหารใหม่ส่วนใหญ่ใช้ลดหรือขจัดความเครียด คือการพยายามทำสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยลองทำ รองลงมาใช้วิธีการเผชิญความเครียดด้วยการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ฝึก และครูฝึก จำเป็นต้องตระหนักร่วมกัน ตลอดจนหาแนวทางป้องกันเพื่อลดหรือขจัดความเครียด ฝึกการแก้ปัญหา จะทำให้พลทหารใหม่สามารถเผชิญความเครียดได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนั้นควรให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้แก่พลทหารใหม่ เน้นกิจกรรมการฝึกทักษะการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกวิธี

คำสำคัญ: ความเครียด;  วิธีการเผชิญความเครียด; พลทหารใหม่

 

Abstract

The purpose of this research was to study the level of stress and coping strategies of the Royal Thai Army new privates. The survey research was performed among 109 new privates, Shift 2, 2009. The data collection was conducted via the Thai Stress Test of Sucheera Phattharayuttawat et al. and the Stress Confrontation Test of Piyaon Wachanathinaphat et al. The stress confrontation consisted of seven forms, namely problem-solving, acceptance, seeking social support, escape, resistance, deviation, and stress relaxation. The data analysis involved frequency, numbers, and percentages.

The research results showed that most of the new privates were single (82.6%) and held a junior high school certificate (33.9%), had no chronic diseases. Some of them drank alcohol (43.2%), and smoked (46.8%). Most of them had minor stress (51.4%), followed by normal mental condition (45.8%). Coping Strategies with regard to problem-solving, most of them often reduced or got rid of stress through analyzing problems for a better understanding (49.5%). For acceptance, most of them sometimes reduced or got rid of stress by accepting that problems could be solved (51.0%). Concerning seeking social support, most of them sometimes reduced or got rid of stress by making a food offering/making merit, going to  temple, listening to a sermon, and having a talk in Dhamma/going to church/going to mosque (57.8%). For escape, most of them sometimes reduced or got rid of stress by avoiding situations that possibly made them feel unconformable or problematic situations, e.g. by taking a sick leave or skipping class (46.8%). For resistance, most of them sometimes expressed their anger or dissatisfaction toward the person (54.1%). For deviation, most of them sometimes reduced or got rid of stress by trying new things (56.0%). With regard to stress relaxation, most of them sometimes reduced or got rid of stress by sitting in meditation or praying (47.7%).

The results of this study showed that most of the new privates reduced or got rid of stress by trying new things, followed by having sex. People concerned and the trainers need to realize this fact, seek ways to reduce or eliminate their stress, and train them in solving problems so that they can confront stress in their daily life properly. In addition, they should educate new privates about sexually transmitted diseases and emphasize skill-focused activities and correct condom use.

Keywords: stress; Coping Strategies; New Privates

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
พุ่มสงวน ก, ประสิทธิเวชชากูร อ, ประจันเขตต์ อ. ความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดของพลทหารใหม่. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2012 Oct. 6 [cited 2024 Dec. 19];13(2):72-81. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/3067