ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อวิชาชีพพยาบาลของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
Keywords:
นักศึกษาพยาบาล, ความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ, Nurse students, Professional commitmentAbstract
บทคัดย่อ
การขาดแคลนบุคลากรวิชาชีพพยาบาลนับเป็นภาวะวิกฤตของวิชาชีพและระบบบริการสุขภาพมาโดยตลอด ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริการแก่ผู้รับบริการ ความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักศึกษาพยาบาลดำรงคงอยู่ในหลักสูตรและวิชาชีพ การศึกษาเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยแรงจูงใจ และปัจจัยการจัดการศึกษา ต่อความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพการพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตรสุขภาพและพยาบาลศาสตร์ (ในขณะนั้น) มหาวิทยาลัยคริสเตียน จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่าที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงระหว่าง .88 - .92 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเองโดยการพิทักษ์สิทธิ์ของนักศึกษาอย่างเคร่งครัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีบิดา - มารดาที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้ครอบครัวค่อนข้างต่ำ มีเจตคติในเชิงบวกในการตั้งใจเรียนให้สำเร็จเพื่อประกอบวิชาชีพตามที่ตั้งใจไว้ เหตุผลของการที่เลือกเข้าศึกษาในสาขาการพยาบาล คือ เป็นความปรารถนาของครอบครัว มีงานทำแน่นอน เป็นอาชีพที่ได้ประโยชน์และมีเกียรติ นักศึกษาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 99.40) มีความพึงพอใจต่อการได้รับการตอบสนองความต้องการในภาพรวมในระดับมาก โดยได้รับการตอบสนองความต้องการด้านการได้รับการยกย่องมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการได้รับความสำเร็จในชีวิต ด้านสังคม ด้านความปลอดภัย และด้านร่างกาย ตามลำดับ นักศึกษาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.66) มีความพึงพอใจต่อความเหมาะสมของหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ปัจจัยเกื้อหนุน และผู้สอนในภาพรวมในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจด้านปัจจัยเกื้อหนุนมากที่สุด รองลงมาคือด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอนและด้านผู้สอน ตามลำดับ ;
ปัจจัยแรงจูงใจ ได้แก่ ความต้องการด้านการได้รับการยกย่อง ด้านการความปลอดภัย และ ด้านการได้รับความสำเร็จในชีวิต ร่วมกันทำนายความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ ได้ร้อยละ 35.2 ( R2 = 0.35 ) ปัจจัยหลักสูตรและปัจจัยเกื้อหนุน สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพพยาบาล ได้ร้อยละ 51.40 ( R2 = 0.51) เมื่อวิเคราะห์อำนาจการทำนายร่วมกันของ 2 กลุ่มปัจจัยนี้พบว่า ปัจจัยการจัดการศึกษา สามารถทำนายความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ ได้ร้อยละ 38.8 ( R2 = 0.39) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผู้วิจัยเสนอแนวทางการจูงใจและคัดสรรผู้เรียนเข้าสู่ระบบการศึกษาพยาบาล การพัฒนากระบวนการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และการปลูกฝังที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพการพยาบาล
คำสำคัญ : นักศึกษาพยาบาล ; ความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ
Abstract
Nursing shortage has been the crisis issue in nursing profession and health care system for many years. Shortage involves quality of health care service for the clients. Nursing professional commitment is an important factor of adhering to nursing discipline. The purposes of this correlational study was to describe the relation of motivation factors, educational factors, and nursing professional commitment among nurse students at the College of Health Science and Nursing, Christian University of Thailand. The convenient sampling technique was applied to select 180, fourth academic year students. The 3 sets of questionnaire were content validated by experts. Their reliability were .88 - .92. The data collecting process was conducted based on participants’ consent respectively. Those data were analyzed by descriptive statistics, Pearson – product moment correlation coefficient and Stepwise multiple regression analysis.
The results were showed demonstrated background of the samples. Most of their parents’ occupation was agriculture, and family incomes was rather low. Most of them had positive attitude in nursing profession and wished to graduation. They agreed to apply to nursing program because of family willingness, job security, honor and contributing occupation. It revealed the relation among interested factors. The total satisfaction score of motivation factors were in high level. Their needs response satisfaction were ranking consecutively; self – esteem, self – actualization, needs of belonging, needs of safety, and physiological needs. Needs of self – esteem, safety and self – actualization predicted professional commitment 35.20 % significantly. The total satisfaction score of educational factors were also in high level. Their needs response satisfaction were ranking consecutively; curriculum, facilitators, and instructors. The curriculum factor and facilitating factor predicted professional commitment 51.40 % significantly.
Finally, when analyzed overall prediction, educational factors predicted professional commitment 38.80 % significantly.
The researcher proposed recommendations to the college administrators on concerning of new students recruitment and motivation guidelines process of production of quality graduates, and embedding sense of professional commitment.
Key words : Nurse students ; Professional commitment
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.