รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในบุคลากรที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน จังหวัดสุรินทร์

Authors

  • พรพรรณ ทัศนศร
  • สุมัทนา กลางคาร
  • พีรศักดิ์ ผลพฤกษา

Keywords:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

Abstract

บทคัดย่อ

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนทั่วโลกและประเทศไทย ดังนั้นการปฎิบัติตนเพี่อลดความรุนแรงของโรคจึงมีความสำคัญ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action  Research) ครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการลดระดับไขมันในเลือดของบุคลากรที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการกำกับตนเอง แบ่งการศึกษาออกเป็น 3  ระยะ คือระยะที่ 1 ประเมินสถานการณ์  ระยะที่  2  ปฏิบัติการโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การสังเกต  การทบทวน และการสะท้อนกลับ และระยะที่ 3 การประเมินผล กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น  44  คน มีการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้า  ดำเนินการระหว่างธันวาคม 2553 ถึง กรกฎาคม 2554 ใช้สถิติ Paired t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่าง ความรู้ ความคาดหวัง การปฏิบัติ และระดับไขมันในเลือด  ผลการวิจัยพบว่า หลังการดำเนินงานบุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับภาวะไขมันในเลือด ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง การปฏิบัติตัวในการลดไขมันในเลือด เพิ่มขึ้นกว่าก่อนดำเนินงาน และมีระดับโคเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงกว่าก่อนการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสรุป รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการลดระดับไขมันในเลือด โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการกำกับตนเอง สามารถทำให้บุคลากรที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้นและมีระดับไขมันในเลือดลดลงได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจนำไปปรับใช้และเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพบุคลากรต่อไป

คำสำคัญ: การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ; ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

 

ABSTRACT

Dyslipidemia is the major risk factor of cardiovascular disease  which is the cause of death worldwide including Thailand. Therefore, to reduce the severity of the disease is essential. The purpose of this action research was to determine the effect of health behavioral modification model for lipid reduction among personel with dyslipidemia at Weerawatyothin  Fort  Hospital in Surin Province. The conceptual model  was the self-regulation process that comprised of three phases; situation analysis phase, action phase and evaluation phase. The action phase consisted of 4 steps: planning, action, observation and reflection. The study sample consisted of 44 officers, voluntarily based on Dyslipidemia. The intervention was conducted from December 2010 to July 2011. The health behavior and lipid profile levels between before and after study program were analyzed using Paired t – test.

The results revealed that the officers showed improvement in knowledge, expected abilities and practice from before the research activities. Moreover, they indicated less cholesterol and triglyceride from before the activities at the 0.05 level of significance. In conclusion, the health behavioral modification model with the application of self-regulation process could improve the health behaviors and decrease lipid profile among personel with dyslipidemia. Therefore, this  model would be applied to health promotion among the personnel in the other areas.

 

Downloads

How to Cite

1.
ทัศนศร พ, กลางคาร ส, ผลพฤกษา พ. รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในบุคลากรที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน จังหวัดสุรินทร์. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2012 Oct. 6 [cited 2024 May 4];13(2):49-5. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/3065