การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กรณีศึกษาศูนย์สุขภาพชุมชนแม่กลอง โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

Authors

  • มานิดา เดชากุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ทวีศักดิ์ กสิผล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Keywords:

ข้อเสนอเชิงนโยบาย, ระบบการดูแล, ผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้, The policy suggestion, Related to caring system, Diabetes patients in uncontrollable blood sugar

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของศูนย์สุขภาพชุมชนแม่กลอง โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อนำไปสู่การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างหลักคือ ผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จำนวน 34 คน กลุ่มตัวอย่างรอง คือ ผู้ดูแล พยาบาลวิชาชีพและอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน40 คน เครื่องมือที่ใช้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามภาวะสุขภาพของผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และผู้ดูแล ส่วนที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับพยาบาลวิชาชีพและ อสม. ที่ผ่านการหาคุณภาพเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coeffiient) แบบสอบถามเรื่องภาวะสุขภาพของผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และแบบสอบถามสำหรับผู้ดูแลผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาล
ในเลือดไม่ได้ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และไคว์สแควร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ระดับการศึกษาของผู้เป็นเบาหวานมีความสัมพันธ์กับค่าระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p< .05) ขณะที่ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ อายุ ระยะเวลาการเจ็บป่วย เพศ การรับรู้ต่อตนเอง การรับรู้บทบาทครอบครัวและการรับรู้บทบาทของพยาบาลวิชาชีพไม่มีผล ต่อค่าระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับปัจจัยของผู้ดูแลพบว่าความสัมพันธ์ของผู้ดูแลกับผู้เป็นเบาหวานมีผลต่อการรับรู้ของผู้ดูแลในการดูแลผู้เป็นเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ในขณะที่ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และความสัมพันธ์กับผู้เป็นเบาหวานไม่มีผลต่อการรับรู้ของผู้ดูแลในการดูแลผู้เป็นเบาหวาน (p> .05) ผลการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้พบว่าต้องกำหนดนโยบาย/แผนระดับหน่วยงาน ระบุเป้าหมายการปฏิบัติงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว ออกแบบระบบเยี่ยมบ้านโดยให้ความสำคัญกับระดับการศึกษาของผู้เป็นเบาหวาน วางแผนเยี่ยมบ้านรายบุคคลแบบครอบครัวเป็นศูนย์กลางโดยเน้นเพิ่มระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เป็นเบาหวานและผู้ดูแล

This research aimed to analysis and synthesis the system of diabetic care for diabetes patients in uncontrollable blood sugar of Maekhong Community Health Center, Somdet Phraphuttha Loetla Hospital, Samut Songkhram Province. The main sample are 34 diabetes patients in uncontrollable blood sugar. A second sample are 40 family caregivers, nurses and community leaders. Data were collected by questionnaire on health diabetes patients and family caregivers, In-depth interview for nurses and community leaders. Data were collected using a questionnaire with a Cronbach’s alpha coeffiient reliability of 0.87 and 0.77. Quantitative data were analyzed by using Frequency, Percentage, Pearson’s product-moment correlation and Chi-square test. Quanlitative data was analyzed by using content analysis. The results showed that education of diabetes patients have an effect on the blood glucose level was statistical signifiance (p <.05). While other factors, including age, sex, duration of illness, self-perception, recognition the role of families and recognize the role of nurse does not affect blood glucose level. For affecting factors of family caregivers fids that the relationship with diabetes patients have affect on the perception of family caregivers care with diabetes patients are statistical signifiance (p <.05). While other factors, including age, gender, education, occupation, income, and relationship with diabetes patients not have effect on the perception of family caregivers care with diabetes patients are statistical signifiance (p> .05). The results of synthesis the policy suggestion related to caring system development for diabetes patients in uncontrollable blood sugar be found set policy/plan for the agency. Set performance goals both short-term and long-term. Design home visit with focus on the education of diabetes patients. Plan home visit focus center on increase relationship between diabetes patients and family caregivers.

Downloads

How to Cite

1.
เดชากุล ม, กสิผล ท, ดุรงค์ฤทธิชัย ว. การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กรณีศึกษาศูนย์สุขภาพชุมชนแม่กลอง โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Feb. 4 [cited 2024 Nov. 21];15(3):269-78. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/30641