ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนต่อความสามารถในการถ่ายโยงความรู้และความสามารถในการปฏิบัติงานของ นักศึกษาพยาบาล
Keywords:
ผลของรูปแบบการเรียนการสอน, การถ่ายโยงความรู้, นักศึกษาพยาบาล, Effectiveness of instructional model, transfer of knowledge, Nursing StudentsAbstract
บทคัดย่อ
วิชาชีพการพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ปฏิบัติโดยตรงต่อชีวิต สุขภาพ อนามัยของประชาชน จำเป็นต้องใช้ศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การจัดการเรียนการสอน มุ่งให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีคุณภาพ เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตของผู้ใช้บริการ การจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่มีความสอดคล้องกัน จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ภาคทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pre- post test ) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนต่อความสามารถในการถ่ายโยงความรู้และความสามารถในการปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพระพุทธบาท จำนวน 30 คน ผู้วิจัยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดของการถ่ายโยงความรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ 2) ขั้นการฝึกปฏิบัติการใช้ความรู้ 3) ขั้นการถ่ายโยงความรู้ และ4) ขั้นการสร้างความใฝ่เรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติที(t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการถ่ายโยงความรู้ของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2) ความสามารถในการปฏิบัติงานกลุ่มทดลองมีความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ: ผลของรูปแบบการเรียนการสอน; การถ่ายโยงความรู้; นักศึกษาพยาบาล
Abstract
Nursing is a profession that adhered directly to people’s life, health, and hygiene. The Nursing education needs to include both nursing science and other related disciplines. The curriculum must be aimed at providing students with quality nursing practice and the security of patients’ life. Teaching of theory and practice must be consistent so that it will allow the students to apply their theoretical knowledge with their practice. This quasi-experimental research (single group pretest-posttest) was employed to study the effect of using the Instructional Model to Enhance Knowledge Transfer and Task Ability of Nursing Students. Data were collected before and after the intervention. The instructional model was developed using research framework of the knowledge transfer approach. Teaching and learning theories were also synthesized and integrated into the model. The experiment of the developed model was conducted with 30 first year nursing students at Boromarajonnani Phraputthabat Nursing College for 16 weeks. Research instrument was the Knowledge Transfer Test and Skill Performance Test. The instructional model which was based on the transfer of knowledge consisted of 4 main steps of organizing learning activity: 1) creating learning experience 2) practicing of obtained knowledge, 3) transferring knowledge, and 4) Creation of inspiration for learning. The test had two parallel versions of pretest and posttest. Data were analyzed by using method of quantitative approaches. The arithmetic mean, the standard deviation and t-test were used for data analyses.
The findings revealed that:
1. The students’ knowledge transfer after from the instructional model was
significantly higher at .01 level than before learning from the model.
2. The task ability after from the instructional model was significantly at .01 level.
Keyword: Effectiveness of instructional model; transfer of knowledge; Nursing StudentsDownloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.