การศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับความรู้สึกผูกพันต่อสถาบันการศึกษาของนักเรียนพยาบาล

Authors

  • อรวรรณ จุลวงษ์

Keywords:

ความรู้สึกผูกพันต่อสถาบันการศึกษา, วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก, นักเรียนพยาบาลกองทัพบก, School Bonding, The Royal Thai Army Nursing College, Army Nursing Students

Abstract

บทคัดย่อ

บทนำ: นักเรียนพยาบาลกองทัพบก จัดอยู่ในกลุ่มวัยรุ่นที่มีแนวโน้มต่อการถูกชักจูง ยั่วยุจากอบายมุขต่างๆได้ง่าย เนื่องจากการอยู่ห่างไกลจากครอบครัว การอยู่ภายใต้ระเบียบวินัยทางทหาร ประกอบกับลักษณะการเรียนการสอนวิชาชีพพยาบาล ที่มีความรับผิดชอบสูง ในบางปีการศึกษาพบว่า มีนักเรียนพยาบาลไม่สำเร็จการศึกษา ต้องเรียนซ้ำชั้นหรือ ลาออก จากสถิติการสำรวจการบรรจุของนักเรียนพยาบาลรุ่นที่ 36 ถึงรุ่นที่ 43 พบว่า มีนักเรียนพยาบาลไม่สำเร็จการศึกษาและลาออกจำนวนทั้งสิ้น 13 นาย ซึ่งสาเหตุเกิดจากการเรียน จำนวน 6 นาย จากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจำนวน 3 นาย และความต้องการศึกษาที่สถาบันอื่น จำนวน 4 นาย (แผนกเตรียมการประเมินผลและสถิติ, 2553) การมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือมีปัญหาด้านการเรียนของนักเรียนพยาบาลดังกล่าวอาจเนื่องจากการไม่มีความสุขในการเรียน หรือมีความผูกพันน้อยต่อสถาบันการศึกษา ดังนั้นการศึกษาถึงความรู้สึกผูกพันต่อสถาบันการศึกษาของนักเรียนพยาบาลกองทัพบกจึงมีความจำเป็นเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมความรู้สึกผูกพันต่อสถาบันการศึกษา ลดพฤติกรรมเสี่ยง ลดอัตราการสอบตกซ้ำชั้น การลาออกและเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับความรู้สึกผูกพันต่อสถาบันการศึกษาของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก การออกแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบบรรยายความ

การดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลถูกคัดเลือกจากนักเรียนพยาบาลในแต่ละชั้นปี ชั้นปีละ 10 คน เพื่อเข้าร่วมการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยแยกการสนทนากลุ่ม ออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ตามชั้นปีการศึกษา การดำเนินการสนทนากลุ่ม ใช้เวลาประมาณ 45-60 นาที โดยใช้การบันทึกเทปในระหว่างการสนทนา การจดบันทึก และ สังเกตพฤติกรรมโดยมีผู้ช่วยวิจัยเป็นผู้ดำเนินการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล: วิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ตามวิธีของ Johnson & LaMontagne (1993) ผลการวิจัย: ผลการวิจัย พบว่า 6 ประเด็นสำคัญของความผูกพันต่อสถาบันการศึกษาของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก ได้แก่ (1) ความภาคภูมิใจในการเป็นนักเรียนพยาบาลกองทัพบก (2) ความผูกพันที่มีต่อเพื่อน รุ่นพี่รุ่นน้องและอาจารย์ (3) ความผูกพันกับวิชาชีพพยาบาลและลักษณะทางทหาร (4) ข้อผูกมัดต่อเป้าหมายของการสำเร็จการศึกษา (5) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและการเป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษาและ (6) อิทธิพลจากครอบครัว บทสรุปและวิจารณ์: ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางในการปรับปรุง ด้านนโยบาย การบริหารงาน ด้านการดูแลความเป็นอยู่ของนักเรียนพยาบาล ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง ให้โอกาสผู้เรียนแสดงศักยภาพของตนเองในทุกด้าน ตลอดจนการพัฒนาด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้หลากหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนและสอดแทรกความรักและผูกพันในวิชาชีพและสถาบันการศึกษา

คำสำคัญ: ความรู้สึกผูกพันต่อสถาบันการศึกษา; วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก; นักเรียนพยาบาลกองทัพบก

 

Abstract

Background: Nursing students at the Royal Thai Army Nursing College (RTANC) are in a high risk age group, and as such are prone to be persuaded to engage in negative behaviors. They are separated from their families, and also subjected to an intense academic environment and strict army discipline that requires conformance.  Some academic years, there are several nursing students who fail to graduate.  Some students repeated classes, some quit school. According to a report from the Preparation Department at the RTANC, thirteen nursing students did not graduate on time. There were several reasons for their academic failure. Six students failed because their GPA was too low.  Three students displayed inappropriate behaviors, and four students were willing to pursue studies in another school (Preparation Department, 2010). The reasons for academic failure and negative behaviors of these students maybe connected to their happiness in school, or less likely, their bonding to their school. This study explored experiences of students bonding with school to prevent academic failure, promote academic achievement, and also decrease risky negative behaviors exhibited by army nursing students. Method: Forty key informants were selected from army nursing students. Qualitative data were collected through four focus groups. The focus groups were divided into 4 groups of ten each, including 1st year, 2nd year, 3rd year, and 4th year students.  The focus groups took 45-60 minutes each and used tape recording, notes, and observation. Analysis: Content analysis was used to analyze the data following the six steps of Johnson & LaMontagne (1993). Results: Six themes were found: (1) Pride in being an army nursing student, (2) Attachment with friends, classmates, and teachers, (3) Attachment to the nursing profession and the army image, (4) Commitment to academic achievement, (5) Involvement in school activities and representing the school, and (6) Family reinforcement. Conclusions: RTANC would benefit by recognizing students’ perceptions of school bonding and the study results would be the guideline for encouraging the feeling of pride in oneself and school, enhancing relationships among teachers, friends, and classmates, facilitating students’ positive image of school and the nursing profession, and providing various activities to enhance academic excellence, and influence the feelings of pride in themselves and their school.

Keywords: School Bonding; The Royal Thai Army Nursing College; Army Nursing Students

Downloads

How to Cite

1.
จุลวงษ์ อ. การศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับความรู้สึกผูกพันต่อสถาบันการศึกษาของนักเรียนพยาบาล. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2012 Oct. 6 [cited 2024 Nov. 19];13(2):18-27. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/3062